วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ไม้สักทอง : ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

ไม้สักทอง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย เป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับนิยมนำมาแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และเป็นวัสดุก่อสร้างอาคาร ด้วยความแข็งแรงและสีสันลวดลายที่สวยงาม ไม้สักทองจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อคนไทยทั้งในแง่ของประโยชน์ใช้สอยและเพื่อปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ


การกระจายพันธุ์สักทองในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์  ไม้สักมีถิ่นกำเนิดจำกัดเฉพาะเอเชียแถบตอนใต้ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกีนี และบางส่วนของออสเตรเลีย
ปัจจุบันมีการนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลกเพิ่มขึ้น เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้  แอฟริกากลาง และเอชียตะวันออก ไม้สักขึ้นอยู่ในป่าผลัดใบเขตร้อนที่เรียกป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous forest) ถือเป็นพืชเอกลักษณ์ของป่าชนิดนี้ ในประเทศไทยเดิมพบว่ามีอยู่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร กระจายในท้องที่จังหวัดต่างๆ  ได้แก่ เชียงราย เชียงใกม่ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดตถ์ พิษณุโลก  พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ขอนแก่น นครพนม หนองคาย เลย กาญจนบุรี จะเห็นว่าส่วนใหญ่พบในภาคเหนือ แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกทั่วทุกภูมิภาคของไทย เช่นที่ ชุมพร พังงา ปัตตานี ยะลา กระบี่ สงขลา จันทบุรี ตราด แต่การเจริญเติบโตพบว่าคุณภาพของเนื้อไม้ ไม่ค่อยดีเท่าการปลูกในภาคเหนือ
ไม้สักเจริญได้ดีในสภาพพื้นที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินลึก ดินมีสภาพเป็นกลางหรือเบสเล็กน้อย ค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของไม้อยู่ระหว่าง 1,500-1,600 มิลลิเมตร / ปี และมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝน จึงจะทำให้เนื้อไม้มีลวดลายของวงปีชัดเจน ระดับความสูงของพื้นที่ไม่เกิน 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่เป็นที่น่าแปลกใจมากว่าเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการพบป่าสักที่สมบูรณ์มากที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,000 เมตร ผืนป่าลุ่มน้ำปายนี้พบมีไม้สักขึ้นหนาแน่นโดยเฉลี่ย 224 ต้นต่อแฮกเตอร์ (1 แฮกเตอร์เท่ากับ 10,000 ตารางเมตร) มีลูกไม้สักเฉลี่ย 178 ต้นต่อแฮกเตอร์ จัดว่าไม้สักเป็นไม้เด่น จากการสำรวจเบื้องต้นพบไม้สักขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก เส้นรอบวงกว่า 4 เมตร และมีความสูงถึง 50 เมตร ลำต้นก็ตรง กิ่งก้านน้อย เรือนยอดแคบ จัดเป็นไม้สักที่มีคุณภาพดีมาก เป็นแม่ไม้ดีเยี่ยมและมีอายุ 100-300 ปี ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า 1,000 เมตร ถึง 1,200 เมตร ยังพบไม้สักขึ้นเป็นแนวแคบๆ ซึ่งจากการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ของไทย  ไม่เคยมีรายงานว่าพบไม้สักธรรมชาติที่ระดับความสูงเช่นนี้มาก่อน เนื้อที่รวมของป่าส่วนนี้ประมาณ 70,000 ไร่
ขอบคุณที่มา : mahidol.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

วรรณกรรมนิเวศวิทยา การป้องกันและการกำจัดปลวกอย่างยั่งยืน

ขั้วที่แตกต่างกัน ระหว่างวรรณกรรมการจัดการศัตรูพืช ที่แสดงให้เห็นว่าปลวก เป็น " ศัตรู " และ วรรณกรรมนิเวศวิทยา แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของพวกเขาในระบบนิเวศ มีข้อสงสัยว่าบางชนิด ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญให้กับพืช,ทุ่งหญ้า,ต้นไม้ และ ไม้โครงสร้าง ในเวลาเดียวกันพวกเขายัง มีบทบาทที่เป็นประโยชน์ ของกระบวนการทางนิเวศวิทยา ที่สำคัญความสนใจอย่างต่อเนื่อง ในการเกษตรอย่างยั่งยืนและ ความมั่นคงด้านอาหาร ในทวีปแอฟริกาเน้นความจำเป็นสำหรับวิธีการ สมดุลมากขึ้นในการ ควบคุมปลวกและการบำรุงรักษาระบบนิเวศของพวกเขา ในการเริ่มต้นเพื่อที่อยู่ ไม่ตรงกัน ระหว่างเรากับปลวก เราสามารถกำจัดปลวกและมีโอกาสสำหรับการจัดการระบบป้องกันปลวกที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ในการจัดการปลวกอย่างยั่งยืน โดยการไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดปลวก
  1. การใช้ระบบกำจัดโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ระบบนิเวศ และการสูญเสียของการให้บริการ ของระบบนิเวศ โดยปลวก
  2. การใช้ระบบกำจัดโดยไม่ส่งผลต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง
  3. การวางระบบป้องกันและกำจัดปลวก และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง(ไม้เหยื่อใน station) โดยไม่ต้องหลบหนีพวกเขา บริหารจัดการความเสี่ยงและ ความยืดหยุ่น การสร้างความมั่นใจเป็นแนวคิดหลัก ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สรุปคือการกำจัดปลวกโดยใช้นิสัยของปลวก คือกินอาหาร ถ่ายโอนอาหารภายในรัง ทำให้ปลวกได้รับสารยับยั้งการเจริญเติบโตอย่างทั่ว (ลอกคราบไม่ได้) เมื่อเจริญเติบโตไม่ได้ก็ทำให้เกิดการล่มสลายรัง
บทความข้างต้นโดย
Gudeta W. Sileshi(ICRAF)
โครงการในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้, Chitedze สถานีวิจัยการเกษตร

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของปลวก : เห็ดโคนกับปลวก


การเกิดเห็ดโคนนี้มี ความสัมพันธ์กับปลวกแบบพึ่งพาอาศัยกัน (obligate symbiosis) กล่าวคือ ปลวกอาศัยเห็ดในการย่อย cellulose และ lignin จากเศษไม้ในรังปลวกให้เป็นโมเลกุลของน้ำตาล ส่วนเห็ดมีชีวิตอยู่ได้ ในรังปลวกโดยใช้สารเคมีที่ปลวกขับถ่ายออกมา ปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราจัดอยู่ ใน Family Termitidae จำแนกพบในประเทศไทยมี 15 ชนิด จัดอยู่ใน 5 สกุล ดังนี้ สกุล Odontotermes พบ 8 ชนิด สกุล Macrotermes พบ 4 ชนิด สกุล Hypotermes พบ 1 ชนิด สกุล Ancistrotermes พบ 1 ชนิด และสกุล Microtermes พบ 1 ชนิด
เห็ดโคนเป็นเห็ดกินได้ที่มีรสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภค กำจัดปลวก จึงทำให้เห็ดโคน มีราคาแพง เห็ดโคนสดราคากิโลกรัมละ 80-500 บาท ขึ้นอยู่กับลักษณะของ ดอกเห็ด ชนิดดอกตูมหรือดอกบาน และสถานที่วางจำหน่าย ดังนั้นเห็ดโคน จึงเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่ได้รับความสนใจมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดโคนกับปลวก 
เห็ดโคนเป็นเห็ดที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับปลวก (obligate symbiosis) โดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เห็ดโคนจะเจริญเติบโตออกจากรังปลวกหรือจอมปลวก ถ้าพบเห็ดโคนเจริญเติบโตในบริเวณใด ก็ตามเมื่อขุดลึกลงในดินจะพบรากเห็ดโคนเจริญมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb) หรือสวนเห็ด (fungus garden) เมื่อเห็ดโคนเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีการสร้างสปอร์บริเวณครีบดอก และในขณะที่ดอกเห็ดบานออกจะปล่อย สปอร์ที่แก่หลุดออกจากดอก กำจัดปลวก ซึ่งจะถูกลมพัดพาไปตกในบริเวณที่เหมาะสมหรือบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมากๆ จะมีกลิ่นดึงดูดปลวกได้เป็นอย่างดี ปลวกจะกินอินทรียวัตถุเป็นอาหารพร้อมกับคาบบางส่วนเข้าไปในรังปลวกเพื่อเก็บเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน การสร้างรังปลวกจะเริ่มที่ผิวดินก่อน สปอร์ของเห็ดโคนจะเข้าไปในรังปลวกพร้อมกับเจริญเติบโตเป็นเส้นใยอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน จากนั้นเส้นใยของเห็ดโคนก็จะพัฒนาไปเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่บริเวณสวนเห็ดซึ่งอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ และความชื้นเหมาะสมตุ่มดอกจะค่อยๆ พัฒนา และเจริญไปเป็นดอกเห็ดโคนต่อไป
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโคน 
บริเวณรังปลวกที่มีเห็ดโคนขึ้นอยู่จะมีความชื้นสูงมาก อุณหภูมิภายในโพรงของรังปลวกประมาณ 28-30 C° และอุณหภูมิภายนอกรังปลวก ประมาณ 26-27 C° สภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 5.0-5.6 และความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศประมาณ 70-80%
ขอบคุณที่มา nicebugservice.com



วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

แมลงทอดมีโปรตีน - ไขมันสูง แต่ไม่ควรกินมาก


กระทรวงสาธารณสุข เผยผลศึกษาแมลงทอดที่คนไทยนิยมบริโภคเป็นของว่าง มีโปรตีน - ไขมันสูง กำจัดแมลง แต่แนะไม่ควรรับประทานมากเกินไป พร้อมเตือนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ระวังระมัดระวังการบริโภคเพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

          นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกระแสนิยมบริโภคแมลงเป็นของว่างในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแต่ละปีมีปริมาณการบริโภคแมลงทุกชนิดประมาณ 2 ตัน ว่า จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร พบว่า ประเทศไทยมีแมลงที่มีคุณค่าอาหารอย่างน้อย 194 ชนิด กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงนำแมลง 8 ชนิด ที่นิยมบริโภค คือ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ดักแด้ไหม ตั๊กแตนปาทังก้า ตัวอ่อนของต่อ แมลงกินูน แมลงป่องและหนอนไม้ไผ่ มาวิจัย พบแมลงหนัก 100 กรัม จะมีพลังงาน 98 - 231 กิโลแคลอรี มีโปรตีน 9 - 28 กรัม ไขมัน 2 - 20 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1 – 5 กรัม ซึ่งโปรตีนในแมลงทุกชนิดมีปริมาณเทียบเท่าเนื้อหมู เนื้อไก่ ปลาทูนึ่งและไข่ไก่ในขนาดน้ำหนักเท่ากัน ยกเว้นหนอนไม้ไผ่ ที่มีพลังงานและไขมันสูงที่สุด  

          ส่วนแมลงที่มีโคเลสเตอรอลสูงสุด คือ จิ้งหรีด ประชาชนจึงควรระมัดระวังในการบริโภคแมลงเหล่านี้ หากรับประทานเล่นเป็นของว่าง อาจทำให้ได้รับพลังงาน ไขมันและโคเลสเตอรอลมากเกินไป  

          นอกจากนี้ ยังต้องระวังเรื่องสารพิษตกค้างที่ปนเปื้อนมากับยากำจัดศัตรูพืชด้วย หากนำแมลงตายแล้วมาประกอบอาหาร เพราะจะมีสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ เมื่อรวมกับการทอดสารดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรง บริษัทกำจัดแมลง ซึ่งผู้ที่บริโภคเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการตาบวม ปากบวม และหากเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วอาการอาจหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกซื้อแมลงทอดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าเป็นแมลงสดใหม่ไม่ใช้น้ำมันเก่าทอด และควรเลือกบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม

ขอบคุณที่มา hilight.kapook.com

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระวัง! "ยุงลายเสือ" ที่สุดสัตว์ร้ายอันตรายอันดับโลก!

สำหรับสัตว์อันตรายที่ ไม่ควรมองข้ามอย่างยุง ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายสู่มนุษย์ อย่างโรคไข้เลือดออก ที่คร่าคนมามากกว่าสองล้านคนทั่วโลกในแต่ละปีเลยทีเดียวจึงจัดให้ยุงเป็นสัตว์อันตรายระดับโลก และยังนำมาซึ่งเชื้อไข้มาลาเรียและไวรัสไข้เลือดออก  ที่แพร่กระจายอยู่ในตอนนี้ ยุงลายเสือจึงเป็นยุงที่มีความอันตรายในระดับต้นๆอีกด้วย 


ยุงลายเสือ หรือ ยุงเสือ หรือ ยุงแมนโซเนีย (Mansonia) เป็นหนึ่งในยุงที่มีอยู่อย่างน้อย 412 ชนิดในประเทศไทย เป็นยุงขนาดใหญ่
เส้นปีกมีเกล็ดใหญ่สีอ่อนสลับเข้มปกคลุม บางชนิดมีสีเหลือง ขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง เช่น Ma.uniformis
บางชนิดมีลายออกเขียวคล้ายตุ๊กแก เช่น Ma.annulifera ขาลายเป็นปล้องๆ บริเวณขามีสีแบบตกกระ มีแถบขาวล้อมรอบ กำจัดแมลง

            ตรงส่วนปลายของท้องมีลักษณะเป็น 3 พู แต่ละพูมีขนยาว 1 กระจุก ยุงลายเสือหายใจผ่านทางท่อหายใจที่มีความแข็งแรงและแทงผ่านทะลุรากพืชหรือลำต้นของพืชน้ำได้ เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน โดยยุงลายเสือจะรับเอาออกซิเจนจากรากหรือลำต้นพืชน้ำเวลาหากิน


ยุงลายเสือมีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่ง หรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง มันกัดกินเลือดของสัตว์และคน ออกหากินเวลากลางคืน แต่ถ้าไปอยู่แถวแหล่งของมันในเวลากลางวัน มันก็กัดได้เหมือนกัน ยุงลายเสือเป็นพาหะของโรคเท้าช้างจากเชื้อไมโคร ฟิลาเรีย ที่พบมากบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส และบริเวณชายแดนไทย – พม่า

            เมื่อยุงลายกัดคนที่มีเชื้อไมโครฟิลาเรีย ซึ่งเป็นหนอนพยาธิตัวกลม (มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน) และดูดเลือดที่มีพยาธินี้เข้าไป ไมโครฟิลาเรียจะเข้าไปเจริญอยู่ในตัวยุงนานประมาณ 7 – 14 วัน จนเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และจะเคลื่อนที่เข้าสู่ปากยุง เมื่อยุงมากัดคน ตัวอ่อนระยะติดต่อนี้จะไชผ่านผิวหนังบริเวณแผลที่ยุงกัด และเข้าไปเจริญและเพิ่มจำนวนในคน ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดโรคเท้าช้าง

            คนที่มีอาการมักถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ บริษัทกำจัดแมลง

            ดังนั้นการป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ ทำได้หลายวิธี เช่น นอนในมุ้ง ติดตั้งมุ้งลวด สุมควันไฟไล่ยุง จุดยากันยุง  หรือ ใช้สเปย์ไล่ยุง ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีสำหรับผู้ใช้ อย่าง Kayari ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติถึง 99% หรือ ทาสารเคมีไล่ยุง เช่น น้ำมันตะไคร้หอม ทั้งนี้ต้องควบคุมและกำจัดยุงพาหะโดยพ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำในแหล่งน้ำด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อให้ปัญหาไข้เลือดออกหมดไป


                       การติดมุ้งลวดตามหน้าต่างประตู ก็ช่วยกันยุงได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน


"สารไพริทรินส์" จากดอก "ไพรีทรัมส์" สารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยในการไล่ยุง


จุดยากันยุงเพื่อให้กลิ่นไล่ยุง ป้องกันการโดนยุงกัดในระยะเวลาต่างๆ ที่อยู่ในบ้าน หรือกิจกรรมกลางแจ้งในเวลากลางคืน 

ขอบคุณที่มา board.postjung.com

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่องของแมลงสาบ กับโรค และความสกปรก

แมลงสาบมีหลายชนิด ในประเทศโดยมีผู้เคยค้นพบมี 25 ชนิด แต่ที่พบมากตามบ้านเรือนทั่วไป และสำคัญมี 2 ชนิด ที่นำโรคและทำความเสียหายต่อเครื่องมือ เครื่องใช้และทำให้สกปรก 1. แมลงสาบอเมริกัน ลักษณะตัวสีน้ำตาล ปีกยาว ขนาดโต ขนาดยาว 3-4 ซม. บินได้ระยะสั้น เวลากลางคืนออกหากิน กลางวันจะหลบซ่อน ตัวเมียออกไข่ เป็นแคปซูลได้ถึง 5-50 แคปซูล และใน 1 แคปซูลจะมีไข่ประมาณ 14 ฟอง แคปซูลของไข่จะติดตามฝาผนัง รอยแตก เพพาน ปกหนังสือในตู้มืดอับ 2. แมลงสาบเยอรมัน ลักษณะตัวสีน้ำตาลอ่อน ตัวเล็กกว่า ปีกยาว ด้านหลังของทรวงอกมีแถบสีดำ 2 แถบ บินเก่ง สังเกตดูตัวเมียจะลากแคปซูลของไข่ตลอดเวลา จนกว่าไข่จะสุก ออกได้ตั้งแต่ 6-50 แคปซูล ในแต่ละแคปซูลจะมีไข่ประมาณ 30 ฟอง ที่อยู่อาศัย จะพบตามท่อน้ำในครัว กำจัดแมลง

 

แมลงสาบชนิดอื่น ๆ ที่พบได้ แต่ไม่มากมี เช่น แมลงสาบออสเตรเลีย รูปร่างคล้ายแมลงสาบอเมริกัน ที่ต่างก็คือ มีแถบสีเหลืองที่โคนปีก ส่วนข้างด้านนอก และด้านหลังของทรวงอกท่อนแรกจะมีจุดสีดำเป็นกลุ่มเห็นได้ชัด การเป็นอยู่มักจะปะปนกับแมลงสาบอเมริกัน แต่มีจำนวนน้อย  แมลงสาบตะวันออก ลักษณะตัวสีดำ หรือน้ำตาลเข้ม และมีลายสีขาว หรือสีเหลืองเด่นชัดบนท่อนทรวงอก และส่วนด้านนอกของส่วนท้องตัวผู้ปีกสั้น หนึ่งในสี่ของส่วนท้องตัวเมียมีปีกสั้นมาก บินไม่ได้ ชอบอยู่ในที่มืดอับ และชื้นแฉะ  แมลงสาบสีน้ำตาล ลักษณะสีน้ำตาลอ่อน คล้ายแมลงสาบเยอรมัน ตัวเมียปีกสั้น ตัวผู้ปีกยาว มักอยู่เป็นกลุ่มในกล่อง ในหีบมืดอับ พบได้ไม่มากนัก กล่องใส่ถ้วย ช้อนในลิ้นชักเป็นแหล่งที่ชอบอาศัยมาก กำจัดแมลง 

 

แมลงสาบมีการเจริญเติบโตทีละขั้นตอน โดยวิธีลอกคราบถึง 13 ครั้ง ไข่ที่แก่ในแคปซูลจะฟักเป็นตัวอ่อนในเวลาประมาณ 30-50 วัน ตัวที่โตเต็มที่แล้วจะมีอายุประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี ถ้ามีแหล่งอาหารดี และที่อยู่อาศัยเหมาะจะอยู่นานถึง 3 ปี  การนำโรคของแมลงสาบก็คล้ายกับแมลงวัน การเป็นอยู่ของแมลงสาบ สกปรก กลิ่นเหม็นอับชื้น มาตอมสิ่งสกปรก ขยะ มูลสัตว์ แล้มาตอมอาหารที่คนรับประทาน โรคติดต่อที่สำคัญคืออหิวาตกโรค ผู้ป่วยจะตายมากหากรับไว้รักษาในโรงพยาบาลช้าเกินไป

 

การควบคุมป้องกันและการกำจัด การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ โดยทำความสะอาด จัดสิ่งของบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัย ออกไข่ และไม่มีแหล่งอาหารจากเศษอาหารที่ตกค้างเรี่ยราด เศษขยะมูลฝอยก็กำจัดโดยฝัง หรือเผา ซ่อมรอยแตกฝาผนัง ที่อับชื้นก็แก้ไขให้มีอาการถ่ายเทดี ก็จะเป็นการไล่ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัย การใช้ยาฆ่า ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ต้องมีความรู้เรื่องยาฆ่าแมลงสาบดี มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายต่อคนในบ้านได้ วิธีอื่น มีการใช้กับดัก รมควันให้หนี และการตบตีให้ตาย บริษัทกำจัดแมลง

ขอบคุณที่มา : เรื่องของแมลงสาบ กับโรค และความสกปรก

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนจากมด


โลกเราไม่ได้เป็นเพียงบ้านของมนุษย์ แต่เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้เยี่ยมยอดที่ไม่มีวันจบสิ้น บุคคลที่มีจิตละเอียดจะรู้จักพิจารณาสังเกตุและเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม พวกเขาได้ค้นพบกฎเกณฑ์บางอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทั้งด้านการพัฒนาชีวิตและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย กำจัดแมลง

ชีวิตมนุษย์ผูกพันและสัมพันธ์กับกฏธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าเราจะใช้เวลาพิเคราะห์และเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เราจะพบว่ามันช่วยเสริมสติปัญญาการดำเนินชีวิตของเราอย่างอัศจรรย์

โซโลมอนเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลซึ่งถือว่าเป็นพระราชาที่ชาญฉลาดที่สุดแห่งโลก พระองค์เขียนหนังสือเสริมสร้างปัญญามากมายหลายเล่ม แต่เล่มหนึ่งที่คนทั่วโลกรู้จักและอ่านมากที่สุดในโลก แม้แต่คนยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพระองค์ได้เขียนไว้เป็นเวลาล่วงเลยมานับเป็นพันปี แต่ว่าอ่านเมื่อใดก็ยังคงใหม่อยู่เสมอ หนังสือเล่มนั้นคือ พระธรรมสุภาษิต

ผมขอคัดมาเรื่องหนึ่งในวันนี้ เพื่อเป็นบทเรียนสอนใจ บทเรียนนั้นได้ในพระธรรมสุภาษิต บทที่ 6 ข้อ 6-11 “เจ้าคนขี้เกียจ จงไปเรียนจากมด สังเกตวิธีการของมัน แล้วจงฉลาดขึ้น มันไม่มีผู้บัญชาการ ไม่มีผู้ควบคุมดูแล และไม่มีใครปกครอง แต่มันก็ยังสะสมเสบียงในฤดูร้อน และรวบรวมอาหารตั้งแต่ฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าคนขี้เกียจจะนอนอีกนานสักเท่าใด เมื่อไหร่เจ้าจะลุกขึ้นเสียที หลับอีกนิด เคลิ้มอีกหน่อย กอดอกงีบต่อสักประเดี๋ยว แล้วความยากจนจะมาหาเจ้าดั่งขโมย และความขัดสนจะเล่นงานเจ้าอย่างคนถืออาวุธ” กษัตริย์โซโลมอน นำเรื่องมดมาเป็นบทเรียนว่า เราควรจะใช้ชีวิตแบบไหนที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้จะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในบางช่วง บางจังหวะของชีวิต ทุกคนทราบดีว่าบ้านเมืองของเราบางครั้งก็เศรษฐกิจดีมีเงินใช้คล่องตัว แต่บางครั้งอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทำให้ตัวเองและครอบครับลำบาก กำจัดแมลง

ในประเทศดินแดนปาเลสไตน์ ย่านตะวันออกกลางมีมดมากกว่า 100 ชนิด แต่มดที่กษัตริย์โซโลมอนใช้เป็นบทเรียน ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Harvester” แปลเป็นไทยคือ “มดเก็บเกี่ยว” พวกมดเหล่านี้จะสร้างรังใกล้ๆ กับบริเวณที่ชาวนานวดข้าว พวกมดเล็กๆ เหล่านี้จะแบก ขน ข้าวที่ละเม็ดด้วยความลำบาก ไปรังของมันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีข้าว พวกมันจะไม่ขาดอาหารในฤดูวิกฤติ

คำสอนจากธรรมชาติที่โซโลมอนนำมาใช้เพื่อสอนการมีแผนรู้จักสะสม ยอมทำงานหนักเพื่อออมสิ่งที่ได้รับเก็บไว้ เพื่อเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ เขาสามารถนำผลที่เขาสะสมไว้มาใช้การได้ เหมือนมดที่นำข้าวของตนเก็บไว้ในรังเพื่อฤดูหนาวที่ไม่มีข้าว ถ้ามดยังฉลาดรู้จักทำงานหนัก มีความขยัน และเก็บผลไว้ เตรียมไว้สำหรับอนาคต มนุษย์เราน่าจะฉลาดกว่ามดที่จะรู้จักคิดเผื่อ คิดไกล เตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนของอนาคต กำจัดแมลง

ขอบคุณที่มา romyenchurch.org