วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ไม้สักทอง : ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

ไม้สักทอง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย เป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับนิยมนำมาแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และเป็นวัสดุก่อสร้างอาคาร ด้วยความแข็งแรงและสีสันลวดลายที่สวยงาม ไม้สักทองจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อคนไทยทั้งในแง่ของประโยชน์ใช้สอยและเพื่อปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ


การกระจายพันธุ์สักทองในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์  ไม้สักมีถิ่นกำเนิดจำกัดเฉพาะเอเชียแถบตอนใต้ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกีนี และบางส่วนของออสเตรเลีย
ปัจจุบันมีการนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลกเพิ่มขึ้น เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้  แอฟริกากลาง และเอชียตะวันออก ไม้สักขึ้นอยู่ในป่าผลัดใบเขตร้อนที่เรียกป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous forest) ถือเป็นพืชเอกลักษณ์ของป่าชนิดนี้ ในประเทศไทยเดิมพบว่ามีอยู่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร กระจายในท้องที่จังหวัดต่างๆ  ได้แก่ เชียงราย เชียงใกม่ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดตถ์ พิษณุโลก  พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ขอนแก่น นครพนม หนองคาย เลย กาญจนบุรี จะเห็นว่าส่วนใหญ่พบในภาคเหนือ แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกทั่วทุกภูมิภาคของไทย เช่นที่ ชุมพร พังงา ปัตตานี ยะลา กระบี่ สงขลา จันทบุรี ตราด แต่การเจริญเติบโตพบว่าคุณภาพของเนื้อไม้ ไม่ค่อยดีเท่าการปลูกในภาคเหนือ
ไม้สักเจริญได้ดีในสภาพพื้นที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินลึก ดินมีสภาพเป็นกลางหรือเบสเล็กน้อย ค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของไม้อยู่ระหว่าง 1,500-1,600 มิลลิเมตร / ปี และมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝน จึงจะทำให้เนื้อไม้มีลวดลายของวงปีชัดเจน ระดับความสูงของพื้นที่ไม่เกิน 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่เป็นที่น่าแปลกใจมากว่าเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการพบป่าสักที่สมบูรณ์มากที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,000 เมตร ผืนป่าลุ่มน้ำปายนี้พบมีไม้สักขึ้นหนาแน่นโดยเฉลี่ย 224 ต้นต่อแฮกเตอร์ (1 แฮกเตอร์เท่ากับ 10,000 ตารางเมตร) มีลูกไม้สักเฉลี่ย 178 ต้นต่อแฮกเตอร์ จัดว่าไม้สักเป็นไม้เด่น จากการสำรวจเบื้องต้นพบไม้สักขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก เส้นรอบวงกว่า 4 เมตร และมีความสูงถึง 50 เมตร ลำต้นก็ตรง กิ่งก้านน้อย เรือนยอดแคบ จัดเป็นไม้สักที่มีคุณภาพดีมาก เป็นแม่ไม้ดีเยี่ยมและมีอายุ 100-300 ปี ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า 1,000 เมตร ถึง 1,200 เมตร ยังพบไม้สักขึ้นเป็นแนวแคบๆ ซึ่งจากการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ของไทย  ไม่เคยมีรายงานว่าพบไม้สักธรรมชาติที่ระดับความสูงเช่นนี้มาก่อน เนื้อที่รวมของป่าส่วนนี้ประมาณ 70,000 ไร่
ขอบคุณที่มา : mahidol.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

วรรณกรรมนิเวศวิทยา การป้องกันและการกำจัดปลวกอย่างยั่งยืน

ขั้วที่แตกต่างกัน ระหว่างวรรณกรรมการจัดการศัตรูพืช ที่แสดงให้เห็นว่าปลวก เป็น " ศัตรู " และ วรรณกรรมนิเวศวิทยา แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของพวกเขาในระบบนิเวศ มีข้อสงสัยว่าบางชนิด ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญให้กับพืช,ทุ่งหญ้า,ต้นไม้ และ ไม้โครงสร้าง ในเวลาเดียวกันพวกเขายัง มีบทบาทที่เป็นประโยชน์ ของกระบวนการทางนิเวศวิทยา ที่สำคัญความสนใจอย่างต่อเนื่อง ในการเกษตรอย่างยั่งยืนและ ความมั่นคงด้านอาหาร ในทวีปแอฟริกาเน้นความจำเป็นสำหรับวิธีการ สมดุลมากขึ้นในการ ควบคุมปลวกและการบำรุงรักษาระบบนิเวศของพวกเขา ในการเริ่มต้นเพื่อที่อยู่ ไม่ตรงกัน ระหว่างเรากับปลวก เราสามารถกำจัดปลวกและมีโอกาสสำหรับการจัดการระบบป้องกันปลวกที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ในการจัดการปลวกอย่างยั่งยืน โดยการไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดปลวก
  1. การใช้ระบบกำจัดโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ระบบนิเวศ และการสูญเสียของการให้บริการ ของระบบนิเวศ โดยปลวก
  2. การใช้ระบบกำจัดโดยไม่ส่งผลต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง
  3. การวางระบบป้องกันและกำจัดปลวก และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง(ไม้เหยื่อใน station) โดยไม่ต้องหลบหนีพวกเขา บริหารจัดการความเสี่ยงและ ความยืดหยุ่น การสร้างความมั่นใจเป็นแนวคิดหลัก ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สรุปคือการกำจัดปลวกโดยใช้นิสัยของปลวก คือกินอาหาร ถ่ายโอนอาหารภายในรัง ทำให้ปลวกได้รับสารยับยั้งการเจริญเติบโตอย่างทั่ว (ลอกคราบไม่ได้) เมื่อเจริญเติบโตไม่ได้ก็ทำให้เกิดการล่มสลายรัง
บทความข้างต้นโดย
Gudeta W. Sileshi(ICRAF)
โครงการในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้, Chitedze สถานีวิจัยการเกษตร

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของปลวก : เห็ดโคนกับปลวก


การเกิดเห็ดโคนนี้มี ความสัมพันธ์กับปลวกแบบพึ่งพาอาศัยกัน (obligate symbiosis) กล่าวคือ ปลวกอาศัยเห็ดในการย่อย cellulose และ lignin จากเศษไม้ในรังปลวกให้เป็นโมเลกุลของน้ำตาล ส่วนเห็ดมีชีวิตอยู่ได้ ในรังปลวกโดยใช้สารเคมีที่ปลวกขับถ่ายออกมา ปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราจัดอยู่ ใน Family Termitidae จำแนกพบในประเทศไทยมี 15 ชนิด จัดอยู่ใน 5 สกุล ดังนี้ สกุล Odontotermes พบ 8 ชนิด สกุล Macrotermes พบ 4 ชนิด สกุล Hypotermes พบ 1 ชนิด สกุล Ancistrotermes พบ 1 ชนิด และสกุล Microtermes พบ 1 ชนิด
เห็ดโคนเป็นเห็ดกินได้ที่มีรสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภค กำจัดปลวก จึงทำให้เห็ดโคน มีราคาแพง เห็ดโคนสดราคากิโลกรัมละ 80-500 บาท ขึ้นอยู่กับลักษณะของ ดอกเห็ด ชนิดดอกตูมหรือดอกบาน และสถานที่วางจำหน่าย ดังนั้นเห็ดโคน จึงเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่ได้รับความสนใจมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดโคนกับปลวก 
เห็ดโคนเป็นเห็ดที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับปลวก (obligate symbiosis) โดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เห็ดโคนจะเจริญเติบโตออกจากรังปลวกหรือจอมปลวก ถ้าพบเห็ดโคนเจริญเติบโตในบริเวณใด ก็ตามเมื่อขุดลึกลงในดินจะพบรากเห็ดโคนเจริญมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb) หรือสวนเห็ด (fungus garden) เมื่อเห็ดโคนเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีการสร้างสปอร์บริเวณครีบดอก และในขณะที่ดอกเห็ดบานออกจะปล่อย สปอร์ที่แก่หลุดออกจากดอก กำจัดปลวก ซึ่งจะถูกลมพัดพาไปตกในบริเวณที่เหมาะสมหรือบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมากๆ จะมีกลิ่นดึงดูดปลวกได้เป็นอย่างดี ปลวกจะกินอินทรียวัตถุเป็นอาหารพร้อมกับคาบบางส่วนเข้าไปในรังปลวกเพื่อเก็บเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน การสร้างรังปลวกจะเริ่มที่ผิวดินก่อน สปอร์ของเห็ดโคนจะเข้าไปในรังปลวกพร้อมกับเจริญเติบโตเป็นเส้นใยอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน จากนั้นเส้นใยของเห็ดโคนก็จะพัฒนาไปเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่บริเวณสวนเห็ดซึ่งอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ และความชื้นเหมาะสมตุ่มดอกจะค่อยๆ พัฒนา และเจริญไปเป็นดอกเห็ดโคนต่อไป
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโคน 
บริเวณรังปลวกที่มีเห็ดโคนขึ้นอยู่จะมีความชื้นสูงมาก อุณหภูมิภายในโพรงของรังปลวกประมาณ 28-30 C° และอุณหภูมิภายนอกรังปลวก ประมาณ 26-27 C° สภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 5.0-5.6 และความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศประมาณ 70-80%
ขอบคุณที่มา nicebugservice.com



วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

แมลงทอดมีโปรตีน - ไขมันสูง แต่ไม่ควรกินมาก


กระทรวงสาธารณสุข เผยผลศึกษาแมลงทอดที่คนไทยนิยมบริโภคเป็นของว่าง มีโปรตีน - ไขมันสูง กำจัดแมลง แต่แนะไม่ควรรับประทานมากเกินไป พร้อมเตือนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ระวังระมัดระวังการบริโภคเพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

          นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกระแสนิยมบริโภคแมลงเป็นของว่างในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแต่ละปีมีปริมาณการบริโภคแมลงทุกชนิดประมาณ 2 ตัน ว่า จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร พบว่า ประเทศไทยมีแมลงที่มีคุณค่าอาหารอย่างน้อย 194 ชนิด กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงนำแมลง 8 ชนิด ที่นิยมบริโภค คือ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ดักแด้ไหม ตั๊กแตนปาทังก้า ตัวอ่อนของต่อ แมลงกินูน แมลงป่องและหนอนไม้ไผ่ มาวิจัย พบแมลงหนัก 100 กรัม จะมีพลังงาน 98 - 231 กิโลแคลอรี มีโปรตีน 9 - 28 กรัม ไขมัน 2 - 20 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1 – 5 กรัม ซึ่งโปรตีนในแมลงทุกชนิดมีปริมาณเทียบเท่าเนื้อหมู เนื้อไก่ ปลาทูนึ่งและไข่ไก่ในขนาดน้ำหนักเท่ากัน ยกเว้นหนอนไม้ไผ่ ที่มีพลังงานและไขมันสูงที่สุด  

          ส่วนแมลงที่มีโคเลสเตอรอลสูงสุด คือ จิ้งหรีด ประชาชนจึงควรระมัดระวังในการบริโภคแมลงเหล่านี้ หากรับประทานเล่นเป็นของว่าง อาจทำให้ได้รับพลังงาน ไขมันและโคเลสเตอรอลมากเกินไป  

          นอกจากนี้ ยังต้องระวังเรื่องสารพิษตกค้างที่ปนเปื้อนมากับยากำจัดศัตรูพืชด้วย หากนำแมลงตายแล้วมาประกอบอาหาร เพราะจะมีสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ เมื่อรวมกับการทอดสารดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรง บริษัทกำจัดแมลง ซึ่งผู้ที่บริโภคเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการตาบวม ปากบวม และหากเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วอาการอาจหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกซื้อแมลงทอดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าเป็นแมลงสดใหม่ไม่ใช้น้ำมันเก่าทอด และควรเลือกบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม

ขอบคุณที่มา hilight.kapook.com

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระวัง! "ยุงลายเสือ" ที่สุดสัตว์ร้ายอันตรายอันดับโลก!

สำหรับสัตว์อันตรายที่ ไม่ควรมองข้ามอย่างยุง ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายสู่มนุษย์ อย่างโรคไข้เลือดออก ที่คร่าคนมามากกว่าสองล้านคนทั่วโลกในแต่ละปีเลยทีเดียวจึงจัดให้ยุงเป็นสัตว์อันตรายระดับโลก และยังนำมาซึ่งเชื้อไข้มาลาเรียและไวรัสไข้เลือดออก  ที่แพร่กระจายอยู่ในตอนนี้ ยุงลายเสือจึงเป็นยุงที่มีความอันตรายในระดับต้นๆอีกด้วย 


ยุงลายเสือ หรือ ยุงเสือ หรือ ยุงแมนโซเนีย (Mansonia) เป็นหนึ่งในยุงที่มีอยู่อย่างน้อย 412 ชนิดในประเทศไทย เป็นยุงขนาดใหญ่
เส้นปีกมีเกล็ดใหญ่สีอ่อนสลับเข้มปกคลุม บางชนิดมีสีเหลือง ขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง เช่น Ma.uniformis
บางชนิดมีลายออกเขียวคล้ายตุ๊กแก เช่น Ma.annulifera ขาลายเป็นปล้องๆ บริเวณขามีสีแบบตกกระ มีแถบขาวล้อมรอบ กำจัดแมลง

            ตรงส่วนปลายของท้องมีลักษณะเป็น 3 พู แต่ละพูมีขนยาว 1 กระจุก ยุงลายเสือหายใจผ่านทางท่อหายใจที่มีความแข็งแรงและแทงผ่านทะลุรากพืชหรือลำต้นของพืชน้ำได้ เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน โดยยุงลายเสือจะรับเอาออกซิเจนจากรากหรือลำต้นพืชน้ำเวลาหากิน


ยุงลายเสือมีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่ง หรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง มันกัดกินเลือดของสัตว์และคน ออกหากินเวลากลางคืน แต่ถ้าไปอยู่แถวแหล่งของมันในเวลากลางวัน มันก็กัดได้เหมือนกัน ยุงลายเสือเป็นพาหะของโรคเท้าช้างจากเชื้อไมโคร ฟิลาเรีย ที่พบมากบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส และบริเวณชายแดนไทย – พม่า

            เมื่อยุงลายกัดคนที่มีเชื้อไมโครฟิลาเรีย ซึ่งเป็นหนอนพยาธิตัวกลม (มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน) และดูดเลือดที่มีพยาธินี้เข้าไป ไมโครฟิลาเรียจะเข้าไปเจริญอยู่ในตัวยุงนานประมาณ 7 – 14 วัน จนเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และจะเคลื่อนที่เข้าสู่ปากยุง เมื่อยุงมากัดคน ตัวอ่อนระยะติดต่อนี้จะไชผ่านผิวหนังบริเวณแผลที่ยุงกัด และเข้าไปเจริญและเพิ่มจำนวนในคน ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดโรคเท้าช้าง

            คนที่มีอาการมักถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ บริษัทกำจัดแมลง

            ดังนั้นการป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ ทำได้หลายวิธี เช่น นอนในมุ้ง ติดตั้งมุ้งลวด สุมควันไฟไล่ยุง จุดยากันยุง  หรือ ใช้สเปย์ไล่ยุง ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีสำหรับผู้ใช้ อย่าง Kayari ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติถึง 99% หรือ ทาสารเคมีไล่ยุง เช่น น้ำมันตะไคร้หอม ทั้งนี้ต้องควบคุมและกำจัดยุงพาหะโดยพ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำในแหล่งน้ำด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อให้ปัญหาไข้เลือดออกหมดไป


                       การติดมุ้งลวดตามหน้าต่างประตู ก็ช่วยกันยุงได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน


"สารไพริทรินส์" จากดอก "ไพรีทรัมส์" สารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยในการไล่ยุง


จุดยากันยุงเพื่อให้กลิ่นไล่ยุง ป้องกันการโดนยุงกัดในระยะเวลาต่างๆ ที่อยู่ในบ้าน หรือกิจกรรมกลางแจ้งในเวลากลางคืน 

ขอบคุณที่มา board.postjung.com

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่องของแมลงสาบ กับโรค และความสกปรก

แมลงสาบมีหลายชนิด ในประเทศโดยมีผู้เคยค้นพบมี 25 ชนิด แต่ที่พบมากตามบ้านเรือนทั่วไป และสำคัญมี 2 ชนิด ที่นำโรคและทำความเสียหายต่อเครื่องมือ เครื่องใช้และทำให้สกปรก 1. แมลงสาบอเมริกัน ลักษณะตัวสีน้ำตาล ปีกยาว ขนาดโต ขนาดยาว 3-4 ซม. บินได้ระยะสั้น เวลากลางคืนออกหากิน กลางวันจะหลบซ่อน ตัวเมียออกไข่ เป็นแคปซูลได้ถึง 5-50 แคปซูล และใน 1 แคปซูลจะมีไข่ประมาณ 14 ฟอง แคปซูลของไข่จะติดตามฝาผนัง รอยแตก เพพาน ปกหนังสือในตู้มืดอับ 2. แมลงสาบเยอรมัน ลักษณะตัวสีน้ำตาลอ่อน ตัวเล็กกว่า ปีกยาว ด้านหลังของทรวงอกมีแถบสีดำ 2 แถบ บินเก่ง สังเกตดูตัวเมียจะลากแคปซูลของไข่ตลอดเวลา จนกว่าไข่จะสุก ออกได้ตั้งแต่ 6-50 แคปซูล ในแต่ละแคปซูลจะมีไข่ประมาณ 30 ฟอง ที่อยู่อาศัย จะพบตามท่อน้ำในครัว กำจัดแมลง

 

แมลงสาบชนิดอื่น ๆ ที่พบได้ แต่ไม่มากมี เช่น แมลงสาบออสเตรเลีย รูปร่างคล้ายแมลงสาบอเมริกัน ที่ต่างก็คือ มีแถบสีเหลืองที่โคนปีก ส่วนข้างด้านนอก และด้านหลังของทรวงอกท่อนแรกจะมีจุดสีดำเป็นกลุ่มเห็นได้ชัด การเป็นอยู่มักจะปะปนกับแมลงสาบอเมริกัน แต่มีจำนวนน้อย  แมลงสาบตะวันออก ลักษณะตัวสีดำ หรือน้ำตาลเข้ม และมีลายสีขาว หรือสีเหลืองเด่นชัดบนท่อนทรวงอก และส่วนด้านนอกของส่วนท้องตัวผู้ปีกสั้น หนึ่งในสี่ของส่วนท้องตัวเมียมีปีกสั้นมาก บินไม่ได้ ชอบอยู่ในที่มืดอับ และชื้นแฉะ  แมลงสาบสีน้ำตาล ลักษณะสีน้ำตาลอ่อน คล้ายแมลงสาบเยอรมัน ตัวเมียปีกสั้น ตัวผู้ปีกยาว มักอยู่เป็นกลุ่มในกล่อง ในหีบมืดอับ พบได้ไม่มากนัก กล่องใส่ถ้วย ช้อนในลิ้นชักเป็นแหล่งที่ชอบอาศัยมาก กำจัดแมลง 

 

แมลงสาบมีการเจริญเติบโตทีละขั้นตอน โดยวิธีลอกคราบถึง 13 ครั้ง ไข่ที่แก่ในแคปซูลจะฟักเป็นตัวอ่อนในเวลาประมาณ 30-50 วัน ตัวที่โตเต็มที่แล้วจะมีอายุประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี ถ้ามีแหล่งอาหารดี และที่อยู่อาศัยเหมาะจะอยู่นานถึง 3 ปี  การนำโรคของแมลงสาบก็คล้ายกับแมลงวัน การเป็นอยู่ของแมลงสาบ สกปรก กลิ่นเหม็นอับชื้น มาตอมสิ่งสกปรก ขยะ มูลสัตว์ แล้มาตอมอาหารที่คนรับประทาน โรคติดต่อที่สำคัญคืออหิวาตกโรค ผู้ป่วยจะตายมากหากรับไว้รักษาในโรงพยาบาลช้าเกินไป

 

การควบคุมป้องกันและการกำจัด การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ โดยทำความสะอาด จัดสิ่งของบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัย ออกไข่ และไม่มีแหล่งอาหารจากเศษอาหารที่ตกค้างเรี่ยราด เศษขยะมูลฝอยก็กำจัดโดยฝัง หรือเผา ซ่อมรอยแตกฝาผนัง ที่อับชื้นก็แก้ไขให้มีอาการถ่ายเทดี ก็จะเป็นการไล่ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัย การใช้ยาฆ่า ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ต้องมีความรู้เรื่องยาฆ่าแมลงสาบดี มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายต่อคนในบ้านได้ วิธีอื่น มีการใช้กับดัก รมควันให้หนี และการตบตีให้ตาย บริษัทกำจัดแมลง

ขอบคุณที่มา : เรื่องของแมลงสาบ กับโรค และความสกปรก

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนจากมด


โลกเราไม่ได้เป็นเพียงบ้านของมนุษย์ แต่เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้เยี่ยมยอดที่ไม่มีวันจบสิ้น บุคคลที่มีจิตละเอียดจะรู้จักพิจารณาสังเกตุและเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม พวกเขาได้ค้นพบกฎเกณฑ์บางอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทั้งด้านการพัฒนาชีวิตและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย กำจัดแมลง

ชีวิตมนุษย์ผูกพันและสัมพันธ์กับกฏธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าเราจะใช้เวลาพิเคราะห์และเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เราจะพบว่ามันช่วยเสริมสติปัญญาการดำเนินชีวิตของเราอย่างอัศจรรย์

โซโลมอนเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลซึ่งถือว่าเป็นพระราชาที่ชาญฉลาดที่สุดแห่งโลก พระองค์เขียนหนังสือเสริมสร้างปัญญามากมายหลายเล่ม แต่เล่มหนึ่งที่คนทั่วโลกรู้จักและอ่านมากที่สุดในโลก แม้แต่คนยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพระองค์ได้เขียนไว้เป็นเวลาล่วงเลยมานับเป็นพันปี แต่ว่าอ่านเมื่อใดก็ยังคงใหม่อยู่เสมอ หนังสือเล่มนั้นคือ พระธรรมสุภาษิต

ผมขอคัดมาเรื่องหนึ่งในวันนี้ เพื่อเป็นบทเรียนสอนใจ บทเรียนนั้นได้ในพระธรรมสุภาษิต บทที่ 6 ข้อ 6-11 “เจ้าคนขี้เกียจ จงไปเรียนจากมด สังเกตวิธีการของมัน แล้วจงฉลาดขึ้น มันไม่มีผู้บัญชาการ ไม่มีผู้ควบคุมดูแล และไม่มีใครปกครอง แต่มันก็ยังสะสมเสบียงในฤดูร้อน และรวบรวมอาหารตั้งแต่ฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าคนขี้เกียจจะนอนอีกนานสักเท่าใด เมื่อไหร่เจ้าจะลุกขึ้นเสียที หลับอีกนิด เคลิ้มอีกหน่อย กอดอกงีบต่อสักประเดี๋ยว แล้วความยากจนจะมาหาเจ้าดั่งขโมย และความขัดสนจะเล่นงานเจ้าอย่างคนถืออาวุธ” กษัตริย์โซโลมอน นำเรื่องมดมาเป็นบทเรียนว่า เราควรจะใช้ชีวิตแบบไหนที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้จะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในบางช่วง บางจังหวะของชีวิต ทุกคนทราบดีว่าบ้านเมืองของเราบางครั้งก็เศรษฐกิจดีมีเงินใช้คล่องตัว แต่บางครั้งอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทำให้ตัวเองและครอบครับลำบาก กำจัดแมลง

ในประเทศดินแดนปาเลสไตน์ ย่านตะวันออกกลางมีมดมากกว่า 100 ชนิด แต่มดที่กษัตริย์โซโลมอนใช้เป็นบทเรียน ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Harvester” แปลเป็นไทยคือ “มดเก็บเกี่ยว” พวกมดเหล่านี้จะสร้างรังใกล้ๆ กับบริเวณที่ชาวนานวดข้าว พวกมดเล็กๆ เหล่านี้จะแบก ขน ข้าวที่ละเม็ดด้วยความลำบาก ไปรังของมันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีข้าว พวกมันจะไม่ขาดอาหารในฤดูวิกฤติ

คำสอนจากธรรมชาติที่โซโลมอนนำมาใช้เพื่อสอนการมีแผนรู้จักสะสม ยอมทำงานหนักเพื่อออมสิ่งที่ได้รับเก็บไว้ เพื่อเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ เขาสามารถนำผลที่เขาสะสมไว้มาใช้การได้ เหมือนมดที่นำข้าวของตนเก็บไว้ในรังเพื่อฤดูหนาวที่ไม่มีข้าว ถ้ามดยังฉลาดรู้จักทำงานหนัก มีความขยัน และเก็บผลไว้ เตรียมไว้สำหรับอนาคต มนุษย์เราน่าจะฉลาดกว่ามดที่จะรู้จักคิดเผื่อ คิดไกล เตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนของอนาคต กำจัดแมลง

ขอบคุณที่มา romyenchurch.org

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ยุงปล่อยเลือดออกมาจากก้นเพื่อระบายความร้อน


ถ้าคิดว่าเกิดเป็นยุงคอยสูบเลือดสัตว์อื่นกิน แล้วจะสบาย ไม่ต้องย่อยอาหารเอง ก็คิดผิดเสียแล้ว การกินเลือดของยุงแต่ละครั้งมีปัญหาตามมามากมาย
หนึ่งในปัญหาสำคัญคือเรื่องของอุณหภูมิ ยุงเป็นสัตว์เลือดเย็นที่อุณหภูมิในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิแวดล้อม ดังนั้นเลือดร้อนๆ ที่ยุงซดเข้าไปทุกอึกจะส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายของยุงเพิ่มขึ้น กำจัดแมลง ถ้าหากร้อนมากเกินไป ยุงก็อาจตายได้
ทีมวิจัยที่นำโดย Claudio Lazzari แห่ง University of Tours ของประเทศฝรั่งเศส พบว่าเลือดที่ยุงปล่อยออกมาทางก้นขณะที่ดูดเลือดมีส่วนช่วยไม่ให้ร่างกายยุงร้อนเกินไป
จากการทดลองโดยให้ยุงสองชนิด คือ ยุงลาย Aedes aegypti และยุงก้นปล่อง Anopheles stephensi กินเลือดแล้วจับภาพอุณหภูมิด้วยกล้องอินฟราเรด ผลปรากฏว่ายุงก้นปล่องที่มีนิสัยชอบปล่อยเลือดออกมาทางก้นขณะกินอาหารมีอุณหภูมิร่างกายคงที่มากกว่ายุงลายซึ่งไม่ปล่อยเลือดออกมา
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าการระเหยของเลือดซึ่งเป็นของเหลวช่วยลดอุณหภูมิร่างกายของยุงได้ ท่าทางการกินเลือดของยุงก้นปล่องก็จะชูก้นตั้งฉากกับผิวหนังของเหยื่อที่ยุงกัดอยู่แล้ว กำจัดแมลง ทำให้เลือดที่ปล่อยออกมาจากก้นจะอาบล้อมส่วนท้องของยุงเอาไว้ เป็นตัวระบายความร้อนตามธรรมชาติ
งานวิจัยก่อนหน้านี้โดยทีมของ David Denlinger แห่ง Ohio State University ก็มีการค้นพบว่ายุงมีกลไกทางชีวเคมีเพื่อรับมือกับความร้อนของเลือดด้วยโปรตีนที่เรียกว่า heat shock protein
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสรีรวิทยาของยุงจะมีส่วนช่วยในการควบคุมยุงและเชื้อโรคที่มันเป็นพาหะในอนาคต แต่ว่าจะมีส่วนช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไม่มีใครรู้
ขอบคุณที่มา COSMOS Magazine

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความเป็นมาและการดำรงชีวิตของแมลง

 เมื่อประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว  โลกเริ่มมีป่าไม้และหนองน้ำใหญ่บนแผ่นดิน ระยะนี้เองที่ได้เกิดมีแมลงขึ้นบนโลก  แมลงชนิดแรกได้แก่ แมลงปอและแมลงสาบ แมลงในสมัยนั้นมีขนาดใหญ่จนอาจเรียกได้ว่า “แมลงปอยักษ์” เพราะมีความยาววัดจากปลายปีกถึง 20 เซนติเมตร  ส่วนแมลงสาบก็อาจถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของแมลงสาบปัจจุบัน กำจัดแมลง  เพราะมีรูปร่างและนิสัยเหมือนกันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย เนื่องจากแมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  เนื้ออ่อนนุ่มนิ่ม ปีกบางใส ฟอสซิลของแมลงโบราณ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญจึงได้หายากยิ่ง  หลักฐานเกี่ยวกับแมลงโบราณที่พอจะหาได้ คือ ซากของแมลงในก้อนอำพันซึ่งมีอายุ  60 ล้านปี 


คำว่า แมลง  หมายถึง  สัตว์ที่มีขา 3 คู่  มีหนวด  ลำตัวแบ่งออกได้    3  ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว,ส่วนอก และส่วนท้อง     ในขณะที่แมงจะหมายถึง 
สัตว์ที่มีขา 4 คู่ ไม่มีหนวด    ลำตัวแบ่งออกเป็น  2    ส่วน ได้แก่  ส่วนหัวและส่วนท้อง จากสภาพแวดล้อมและการขัดเกลาทางสังคมที่เป็น
ตัวหล่อหลอม ชีวิต  ความคิด  ความเข้าใจ ทัศนคติ    รวมถึงมโนทัศน์ของชาวบ้าน    ทำให้คำว่า  “ แมลง”    ของชาวบ้านแตกต่างไปจากการจัดแบ่งสัตว์ตระกูลแมลงตามแนวของนักอนุกรมวิธานและนักกีฏวิทยา    การกำหนดว่าสัตว์ชนิดใดเป็นแมลงนั้น    ชาวบ้านสังเกตจากสิ่งเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง  ได้แก่
1. ลักษณะทางกายภาพ สัตว์ที่ชาวบ้านถือว่าเป็นแมลงจะพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพเป็นสำคัญ คือ แมลงต้องมีขนาดเล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป โดยมีคำจำกัดความว่าต้องไม่ใหญ่เกินนกมีขามากกว่านก คือ มีขาตั้งแต่ 6 ขาขึ้นไป และต้องเป็นสัตว์ที่รับความรู้สึกทางหนวดซึ่งมีไว้รับความรู้สึกเกี่ยวกับอันตรายต่างๆ  รอบๆ ตัว กำจัดแมลง
2. ลักษณะการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นสิ่งหนึ่งที่กำหนดว่าสิ่งมีชีวิตแบบใดถูกจัดให้เป็นแมลง การเคลื่อนไหวของแมลงในทัศนะของชาวบ้านแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
   2.1 ใช้ขาในการเคลื่อนไหว สัตว์ประเภทแมลงต้องใช้ขาในการเดินหรือไต่ไปตามที่ต่างๆ บางประเภทเดินเร็ว บางประเภทเดินช้า ลักษณะพิเศษ
คือ การไต่หรือเดินของแมลงนี้สามารถทำได้ในพื้นที่ทุกลักษณะ ทุกระนาบ มีการเกาะติดเพราะมีเล็บขาที่แข็งแรง
   2.2 ใช้ปีกในการเคลื่อนไหว สัตว์ประเภทแมลงบางชนิดใช้ปีกในการเคลื่อนไหว  ปีกนั้นต้องไม่ใหญ่จนเกินไป ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ
ที่มีปีกหนา นุ่ม มีขน แต่ปีกแมลงไม่มีขน และแมลงจะบินได้เป็นครั้งคราว กล่าวคือ บินได้ไม่นานก็ต้องหยุดพัก ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ  อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปีกเล็ก แมลงก็สามารถเคลื่อนที่ได้ไวและหลบหนีการไล่ล่าได้เร็วกว่าสัตว์ปีกประเภทอื่นๆ
3. ลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งที่อยู่อาศัยก็เป็นเกณฑ์หนึ่ง  ที่แสดงให้เห็นว่า สัตว์ประเภทใดอยู่ในจำพวกแมลง ในมโนทัศน์ของชาวบ้านแมลงสามารถอยู่อาศัยได้ทั้งบนบกบนฟ้า และในน้ำ
   3.1 บนบก ชาวบ้านมีความเข้าใจว่าสัตว์ตัวเล็กๆ  ที่อาศัยอยู่บนบกและชอบขุดรูอาศัยอยู่ใต้ดินนั้นส่วนใหญ่เป็นแมลง  ซึ่งเป็นการขุดอยู่เพียงชั่วคราว โดยขึ้นอยู่กับฤดูกาล และความยาวนานของการฟักไข่  หรือในบางครั้งก็ขึ้นมาอยู่บนบกตอนกลางวัน และขุดรูอาศัยอยู่ตอนกลางคืน  อีกพวกหนึ่งได้แก่ สัตว์ตัวเล็กๆ ที่อยู่
บนบกและชอบเกาะตามกิ่งไม้ก็ถือเป็นแมลงอีกเช่นกัน ชาวบ้านมีความคิดว่าแมลงบนบกต้องอยู่ในแหล่งดังกล่าวเท่านั้น  คือ ขุดรูอาศัยอยู่ในดินกับเกาะตามกิ่งไม้ นอกเหนือจากนี้ไม่จัดว่าเป็นแมลง ตัวอย่างเช่น แมลงป่อง ชาวบ้านไม่ถือว่าเป็นแมลงเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในดินและตามกิ่งไม้ ชาวบ้านจะเรียกว่า “ตัวงอด” ซึ่งไม่ได้เป็นแมลงในมโนทัศน์
ของชาวบ้าน
    3.2 ในน้ำ แมลงบางประเภทก็เป็นสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำนอกเหนือจากปู ปลา  กุ้ง  หอย  สัตว์อื่นๆที่เป็นสัตว์เล็กและมีจำนวนมากๆ ถือว่าเป็นแมลง
   
  3.3 บนฟ้า สัตว์ที่บินได้และมีขนาดลำตัวที่เล็ก ไม่มีขน ถือว่าเป็นแมลง
4. ลักษณะการขยายพันธุ์ แมลงเป็นสัตว์ที่มีการขยายพันธุ์คราวละมากๆเป็นร้อยเป็นพันตัว  ในขณะที่สัตว์ประเภทอื่นไม่มีลักษณะพิเศษเช่นนี้ การขยายพันธุ์แมลงต้องมีการวางไข่ ฟักเป็นตัวอ่อน(ชาวบ้านเรียกว่าลูกขี้) และมีการฟักตัวเป็นดักแด้(ชาวบ้านเรียกว่าลูกนาง) และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย(ชาวบ้านเรียกว่าตัวแก่) ลักษณะวงจรชีวิตดังกล่าวทำให้แมลงแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ
          ทั้งนี้  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี พ.ศ.2542 ให้นิยามของ“แมง”  หมายถึง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกาย  แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกัน และมีส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา 8 หรือ 10 ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล กำจัดแมลง
แมงป่อง  ส่วน “แมลง” นิยามว่าหมายถึง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แบ่งออกเป็น
3 ส่วน เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มี 6 ขา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียว
ที่มีปีก ซึ่งอาจมี 1 หรือ 2 คู่ แต่อาจพบพวกที่ไม่มีปีกก็ได้  เป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลก ซึ่งทั้ง 2 คำนี้มักมีการนำไปใช้สับกันอยู่เสมอๆ 
          ขณะที่ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์และอุทยานแมลง 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชี้ลงไปว่า แมลง คือสัตว์ในไฟลัมอาร์โทโพดา 
ในคลาสอินเซ็คตา ต่างจากสัตว์บางตัวที่เรียกภาษาไทยว่า "แมง" ซึ่งจัดอยู่ในคลาสอะแรชนิด

ขอบคุณที่มา http://www.kksci.com/


วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับปลวก



ชีววิทยาปลวก
         ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 2,750  ชนิด ใน 7 วงศ์  มีขนาดตั้งแต่ขนาดจิ๋วถึงขนาดใหญ่   ปากเป็นแบบกัดกิน  มีปีกลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง (membranous) ชนิดที่มีปีก  มีตารวมเจริญดี ทั้งปีกหน้าและปีกหลังมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก จนเกือบเรียกได้ว่าเท่ากัน รับกำจัดปลวก  ชนิดที่ไม่มีปีกอาจมีหรือไม่มีตารวม  และอาจมีตาเดี่ยว 2 ตา  หรือไม่มีเลย  หนวดส่วนใหญ่มีขนาดสั้น  ส่วนใหญ่เป็นแบบสร้อยร้อยลูกปัด (moniliform) บางชนิดเป็นแบบเส้นด้าย (filliform) จำนวน 9 - 30 ปล้อง  ชนิดที่มีปีก 2 คู่ จะมีขนาดเท่ากันทั้ง 2 คู่  สามารถสลัดปีกทิ้งได้ ขาเป็นแบบใช้เดิน (walking legs)  ฝ่าเท้าส่วนใหญ่มี 4 ปล้อง แต่บางชนิดมีถึง 6 ปล้อง  มีปล้องท้องทั้งหมด 10 ปล้อง และจะพบรยางค์ที่ส่วนท้อง (styli)  1 คู่  (ปลวกในวงศ์ Mastotermitidae และ Hodotermitidae รยางค์มี 5 - 8 ปล้อง แต่ในวงศ์อื่นพบเพียง 2 ปล้อง)  อวัยวะเพศมักเสื่อมหรือไม่มี   แพนหางมีขนาดสั้น จำนวน 1 - 8 ปล้อง หลายชนิดส่วนหัวมีรอยยุบ  เรียกว่า fontanelle เป็นช่องเปิดเล็กๆอยู่บริเวณกลางหัวทางด้านบนหรือระหว่างตาประกอบ   ระหว่างทางตอนท้ายของส่วนหัวกับอกปล้องแรกมีแผ่นแข็งที่เรียกว่า  cervical sclerite ทำให้คอมีความแข็งแรง ปลวกส่วนใหญ่มักพบในเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น  บางชนิดพบในเขตหนาว  จัดเป็นแมลงสังคม (social insects) ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่นับหมื่นๆตัว  อยู่ภายในรังที่สร้างไว้ในดินที่เรียกว่า  จอมปลวก (termitarium) หรือตามโพรงต้นไม้  เรามักจะพบเห็นปลวกที่มีลำตัวขาวซีดลักษณะคล้ายมด บางครั้งจึงมีคนเรียกปลวกเหล่านี้ว่า white ant    
         ปลวกมีการแบ่งเป็นวรรณะ (case) ต่างๆ  ดังนี้
      1) วรรณะสืบพันธุ์ (primary reproductive caste) ประกอบด้วยปลวกแม่รังหรือนางพญา (queen)  และปลวกพ่อรัง (king) เป็นปลวกที่มีปีก  อวัยวะเพศ และตารวมที่เจริญดี  ใน 1 รัง จะมีแม่รังเพียง 1 ตัว แต่อาจมีพ่อรังได้หลายตัว  แม่รังและพ่อรังจะอาศัยอยู่ในโพรงนางพญา (hollow  royal  chamber)  ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของรังเพื่อปกป้องแม่รัง  แม่รังมีขนาดใหญ่มากที่สุด ถ้าเทียบปลวกงานเป็นมนุษย์ แม่รังจะมีน้ำหนักมากถึง 10 ตัน (10,000 กก.) และมีอายุยืนยาว  บางชนิดมีอายุถึง 50 ปี               
         ในช่วงฤดูฝนจะมีการผลิตปลวกวรรณะสืบพันธุ์ที่เราเรียกกันว่าแมลงเม่า (alates)ออกมานับพันตัว  เพื่อให้บินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จจะสลัดปีกทิ้งและเดินตามกันเพื่อหาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดิน  หลังจากนั้นจะวางไข่  และสร้างรังใหม่ต่อไป ซึ่งในการวางไข่ครั้งแรกนี้จะสามารถวางไข่ได้น้อยมาก  ประมาณ 20 ฟอง และจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7 วัน ทั้งพ่อรังและแม่รังจะช่วยกันเลี้ยงดูตัวอ่อนจนเป็นตัวเต็มวัย  ซึ่งทำหน้าที่เป็นปลวกงานรุ่นแรก เมื่อวางไข่ครั้งแรกแล้วส่วนท้องของแม่รังตัวใหม่นี้จะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าจากเดิม เรียกว่า physogastric เพื่อผลิตไข่ให้ได้มากขึ้น แม่รังที่สมบูรณ์จะสามารถวางไข่ได้ 2,000 - 3,000  ฟองต่อวัน  ปลวกMacrotermes subhyalinus ในแอฟริกา มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว  3.5 ซม. และมีความยาว 14 ซม. สามารถวางไข่ได้ถึง 30,000 ฟองต่อวัน รับกำจัดปลวก 
 การที่ลำตัวขยายใหญ่มากนี้ ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง  ทำให้ต้องมีปลวกงานคอยรับใช้  คอยป้อนอาหาร  ทำความสะอาดอยู่หลอดเวลา   แม่รังจะปล่อยฟีโรโมนเพื่อควบคุมการทำงานของวรรณะอื่นๆ ทั่วทั้งรัง ให้เกิดการแบ่งงานเป็นสังคมขึ้นมา  
         ส่วนปลวกพ่อรังจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากผสมพันธุ์กับปลวกแม่รัง  และจะยังผสมพันธุ์ได้อีกหลายครั้งตลอดชีวิต  นี่เป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่แตกต่างจากสังคมมด เพราะมดตัวผู้จะมีชีวิตได้อีกไม่นานหลังจากผสมพันธุ์และสามารถผสมพันธุ์ได้เพียงครั้งเดียว  
2) วรรณะสืบพันธุ์รอง (primary reproductive caste) ประกอบด้วยปลวกที่มีปีกสั้นมาก  ตารวมขนาดเล็ก  หรือบางทีอาจเป็นปลวกที่ไม่มีปีก  มีลำตัวขาวซีด  ดูคล้ายปลวกงาน  ทำหน้าที่ทดแทนแม่รังในการแพร่พันธุ์
       3) วรรณะปลวกงาน (worker caste) ประกอบด้วยปลวกตัวอ่อน  และตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน  มักไม่มีตารวม กรามมีขนาดเล็ก  ไม่มีปีก  ลำตัวอ่อนนุ่มขาวซีด  มองดูคล้ายมด  จึงมีคนเรียกปลวกงานว่า มดขาว (white ants) จัดว่าเป็นวรรณะแรงงานหลักของรัง  ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและป้อนอาหารให้แม่รัง ปลวกทหาร และปลวกตัวอ่อนที่เกิดใหม่  ทำความสะอาดระหว่างปลวกงานด้วยกันเอง ตลอดจนถึงการซ่อมแซมและต่อเติมรังใหม่  ตลอดจนถึงทางเดินภายในรัง  รวมถึงการเพาะเลี้ยงราไว้เป็นอาหาร
      4) วรรณะปลวกทหาร (soldier caste) ประกอบด้วยปลวกตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน ลำตัวใหญ่กว่าปลวกงาน  อาจมีหรือไม่มีตารวม หัวกะโหลกเป็นเกราะแข็ง  มีกรามขนาดใหญ่  หรือบางทีขยายยาวลักษณะเป็นคีม ใช้ต่อสู้กับผู้รุกราน   ปลวกใน วงศ์ย่อย (sub-family Nasutitermitinae) ปลวกทหารสามารถปล่อยของเหลวจากส่วนหัวยื่นยาวคล้ายจมูกหรืองวงใช้ขับไล่ศัตรู  หรืออาจมีรูเล็กๆบนส่วนหัวที่เรียกว่า fontanelle ไว้ปล่อยสารขับไล่ศัตรูเช่นกันและลักษะของ fontanelle นี้ยังสามารถพบได้ในวงศ์ Rhinotermitidae อีกด้วย  ปลวกทหารบางชนิดมีส่วนหัวที่กลมมน (phragmotic) เพื่อใช้ปิดอุโมงค์ที่แคบเพื่อไม่ให้มดเข้ามารุกรานภายในรัง  และเมื่อมีปลวกตัวที่ปิดอุโมงค์เกิดพลาดท่า ปลวกที่คอยเตรียมพร้อมด้านหลังก็จะเข้ามาแทนที่  และเมื่อมีการบุกรุกจากรอยแตกที่ใหญ่เกินกว่าจะใช้ส่วนหัวปิดได้  จะมีปลวกทหารรูปแบบอื่นๆออกมาล้อมรอยแตก แล้วกัดหรือฉีดสารเหนียวออกจากส่วนหัวที่มีลักษณะคล้ายงวง  ขณะเดียวกันนั้นปลวกงานก็จะทำการซ่อมแซมรอยแตกเป็นเหตุทำให้ตายเป็นจำนวนมาก  เป็นรูปแบบของการสละชีพเพื่อการป้องกันรัง การเคาะส่วนหัวที่แข็งแรงกับพื้นเป็นจังหวะ ในปลวกบางชนิดมีปลวกทหาร 2 ขนาด (dimorphic)  คือขนาดเล็กและสามเท่าของขนาดเล็ก เรามักจะพบเห็นปลวกทหารจำนวนมาก คอยคุ้มกันและระวังภัยให้กับปลวกงานที่กำลังออกหาอาหาร  ซ่อมแซมหรือขยายรัง รับกำจัดปลวก  การที่มีฟันกรามขยายใหญ่มากนี้ทำให้ไม่สามารถกินอาหารเองได้ ทำให้ต้องคอยการป้อนอาหารจากปลวกงานปลวกมีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์แบบ (Incomplete metamorphosis)

        กล่าวคือเมื่อปลวกฟักออกจากไข่ก็จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีขนาดเล็กว่า  ในปลวกวรรณะสืบพันธุ์ตัวอ่อนจะยังไม่มีปีก และระบบสืบพันธุ์จะยังไม่เจริญสมบูรณ์  ยังไม่สามารสืบพันธุ์ได้   ปลวกตัวตัวอ่อนนี้จะมีการลอกคราบหลายครั้ง  และการลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวเต็มวัย  
         การแบ่งปลวกตามชนิดของจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร        ในกระบวนการกินและการย่อยอาหาร  ปลวกจะไม่สามารถผลิตน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารได้เอง  แต่จะต้องพึ่งจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ   ที่อาศัยร่วมอยู่ภายในระบบทางเดินอาหารของปลวก  เช่น  โปรโตซัว  แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ให้ผลิตเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น cellulase  และ lignocellulase  ออกมาย่อย cellulose หรือ lignin ซึ่งเป็นองค์ประกกอบหลักของอาหารที่ปลวกกินเข้าไป  ให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน  หรือสารประกอบในรูปที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้  เราสามารถแบ่งปลวกตามชนิดของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารได้เป็น  2 ประเภทดังนี้ 
        1 ปลวกชั้นต่ำ  ส่วนใหญ่เป็นปลวกชนิดที่กินเนื้อไม้เป็นอาหาร  จะอาศัยโปรโตซัว  ซึ่งอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร  
        2 ปลวกชั้นสูง  ส่วนใหญ่เป็นปลวกชนิดที่กินดิน    ซากอินทรีย์วัตถุ  ไลเคน  รวมถึงพวกที่กินเศษไม้  ใบไม้    และเพาะเลี้ยงเชื้อราไว้เป็นอาหาร  จะมี วิวัฒนาการที่สูงขึ้น  เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาพนิเวศที่แห้งแล้งหรือขาดอาหารได้ดี  โดยอาศัยจุลินทรีย์จำพวก bacteria หรือเชื้อราในระบบทางเดินอาหาร  ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยอาหารให้กับปลวก ซึ่งแบคทีเรียบางชนิด  จะมีความสามารถในการจับไนโตรเจนจากอากาศ  มาสร้างเป็นกรดอะมิโนที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ และบางชนิดสามารถสร้างเอนไซม์ที่ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารพิษบางอย่างที่สลายตัวได้ยากในสิ่งแวดล้อม  ช่วยในการผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร
          ปลวกกับจุลินทรีย์และอาหาร          ปลวกกินเนื้อไม ้(cellulose) เป็นอาหารซึ่งเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของปลวก  ดังจะเห็นได้จากพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อเราเผาไม้ โดยการที่ปลวกสามารถย่อยสลายเนื้อไม้ก็เพราะอาศัยโปรโตซัว  ดังเช่น จีนัส Trichonympha  และจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในส่วนที่เรียกว่า ileum ของลำไส้ตอนท้ายซึ่งขยายเป็นกระเปาะเล็กๆ  เป็นภาวะการพึ่งพาอาศัยซึ่ง (symbiosis) ระหว่างปลวกกับโปรโตซัว โดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ เฉพาะปลวกงานเท่านั้นที่สามารถย่อยสลายเนื้อไม้ได้  โดยปลวกงานจะใช้อาหารข้นที่ถูกย่อยแล้วจากทางเดินอาหาร  ขับออกทางปากหรือทวารหนัก  ป้อนเป็นอาหารแก่ปลวกตัวอ่อน  ปลวกแม่รัง  ปลวกแม่รัง  และปลวกทหาร  เรียกกระบวนการนี้ว่า "trophallaxis"  ซึ่งก็ถือว่าเป็นการถ่ายทอดโปรโตซัวที่อยู่ภายในระบบทางเดินอาหารจากรุ่นสู่รุ่น   และยังมีปลวกชั้นสูง"higher termites", ที่สามารถผลิตเอมไซม์สำหรับย่อยเนื้อไม้ได้ด้วยตนเอง  โดยเฉพาะปลวกใน วงศ์ Termitidae แต่อย่างไรก็ตาม รับกำจัดปลวก  ในกระเพาะอาหารของปลวกวงศ์นี้ยังพบ แบคทีเรียและสิ่งที่เกิดจากการย่อยสลายในขั้นต้นอยู่ด้วย  ปลวกหลายชนิดมีการทำสวนรา(fungalgardens)  โดยเฉพาะราในสกุล Termitomycesไว้เป็นอาหารจากมูลก้อนเล็กๆ และเศษใบไม้นับร้อยแห่งทั่วรัง  โดยเริ่มจากการที่ปลวกกินรานี้เข้าไป  สปอร์ของราก็จะเข้าไปอยู่ในกระเพาะของปลวกโดยไม่ทำอันตรายใดๆกับปลวก  เมื่อปลวกถ่ายออกมา  เชื้อรานี้ก็จะงอกในสวนราเป็นอาหารของปลวกต่อไป          นอกจากเนื้อไม้แล้วยังมีปลวกชนิดที่กินดินและอินทรีย์วัตถุต่างๆ  รวมถึงไลเคนอีกด้วย
  การสร้างรัง
        ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถในการสร้างสถาปัตยกรรมและสัญชาตญาณในการอยู่รอดอย่างดีเยี่ยม   ปลวกจะสร้างรังในซากต้นไม้ที่ติดกับพื้นดิน  หรือสร้างรังบนดินที่เราเรียกกันว่า "จอมปลวก"  (" Mounds")  โดยใช้น้ำลายและมูลที่ผนึกดินเข้าด้วยกันทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงและสร้างอุโมงค์คดเคี้ยวไปมามากมาย  รูปทรงต่างๆกัน ทำให้บางครั้งสามารถแยกบางชนิดได้โดยดูจากรูปทรงของจอมปลวกนี้  เช่น  ปลวกบางชนิดจะสร้างรังเป็นรูปลิ่มสูง และมีแนวแกนกลางที่ยาว วางตัวในแนวเหนือใต้เสมอ  พบว่ารังปลวกในแอฟริกามีความสูงถึง 9 เมตร (30 ฟุต)  ซึ่งถ้าเทียบอัตราส่วนกับมนุษย์แล้วจะสูงมากกว่า 3 กิโลเมตร   เป็นที่อยู่อาศัยของปลวกนับล้านตัว   
         ปลวกสามารถสำรวจลงไปในดินลึกกว่า 20  เมตร และนำแร่โลหะขึ้นมาเป็นวัสดุในการสร้างรัง  วิธีการนี้ทำให้นักสำรวจทองคำสามารถค้นพบแหล่งที่เป็นสายแร่ทองคำได้  รังที่สร้างขึ้นนี้ได้รับความชื้นที่ปลดปล่อยมาจากดินและซากเนื้อไม้ที่กำลังถูกย่อยสลายภายในรังใต้ดิน  และการมีอุโมงค์ที่คดเคี้ยวไปมา และมีโพรงสำหรับระบายอากาศให้อากาศไหลเวียนได้ตลอดเวลา จึงทำให้รังปลวกสามารถรักษาระดับสมดุลของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ และนอกจากนี้ยังมีผลทำให้อุณหภูมิคงที่ และเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส  ตลอดทั้งวัน   ทำให้ปลวกสามารถมีชีวิตรอดได้แม้จะอยู่ในทะเลทรายก็ตาม  
        ประโยชน์และโทษของปลวก        ปลวกมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นผู้ย่อยสลายเศษไม้  ใบไม้  ต่างๆ มูลสัตว์  กระดูก ซากสัตว์แม้กระทั่งมูลของปลวกเองและซากของตัวที่ตายแล้ว ให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ  สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน   ในแอฟริกาใช้ปลวกทหารในการรักษาแผลอักเสบ ใช้ปลวกแม่รังเป็นยาบำรุงเพศ  ดินจากจอมปลวกสามารถพอกรักษากระดูก นอกจากนี้ยังสามารถรักษาคางทูม และโรคอีสุกอีไส แต่อย่างไรก็ตามปลวกจัดว่าเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจอย่างสูง  คาดว่าประมาณ 10 % ของปลวกที่มนุษย์รู้จักทั้งหมด ปลวกสามารถ
ทำลายไม้ยืนต้น  ไม้ซุง  ไม้ยืนต้น ไม้แปรรูป  ผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ  ตลอดจนเข้าทำลายโครงสร้างของอาคารบ้านเรือนที่เป็นไม้   ให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก  นอกจากนี้ยังพบว่ารังปลวกจะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)
        ประวัติเชิงวิวัฒนาการ 
        เชื่อกันว่าปลวกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแมลงสาบและตั๊กแตนตำข้าว ถูกจัดรวมกันใน superorder  Dictyoptera  ปลวกเกิดในมหายุค Paleozoic โดยคาดว่ามีวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายแมลงสาบ   เนื่องจากปลวกและแมลงสาบมีความเหมือนกันหลายๆอย่าง เช่น  พบว่าแมลงสาบบางชนิดกินไม้ผุๆ เป็นอาหาร  อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  โดยมีทุกวัยอยู่ด้วยกัน   และยังมีโปรโตซัวบ้างชนิดอยู่ในทางเดินอาหารเพื่อช่วยย่อยเซลลูโลสในเยื่อไม้    โปรโตซัวที่พบในแมลงสาบชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับชนิดที่พบในปลวกโบราณ    มีการค้นพบว่ามีแบคทีเรียในทางเดินอาหารของแมลงสาบในสกุล Cryptocercus   มีประวัติของเผ่าพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับที่พบในปลวกมากกว่าแมลงสาบชนิดอื่นๆ  อีกทั้งแมลงสาบในสกุลนี้ยังมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการมีพฤติกรรมเป็นแมลงสังคมอีกด้วย 
ขอบคุณที่มา nemesisthai.com

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

รู้จักแมลงวัน


แมลงวัน

      ท่านศาสดามูฮัมมัด ได้กล่าวว่า “เมื่อมีแมลงวันได้ตกใส่ภาชนะของพวกท่านคนใดคนหนึ่ง ให้เขากดมันให้จมไปทั้งตัว หลังจากนั้นให้เอาทิ้งไปเพราะปีกข้างหนึ่งจากสองปีกของมันนั้นเป็นยาและปีกอีกข้างหนึ่งของมันเป็นโรค” รายงานโดยท่านบุคอรี นะซาอี และท่านอบีดาวูด       หะดีษนี้นับเป็นหะดีษที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด หะดีษหนึ่งในหมู่ชนมุสลิมทำให้เขาได้รู้ว่าแมลงวันนั้นเป็นสัตว์ที่ต้องระวังเพราะมันมีเชื้อโรคหรือสามารถนำโรคมาให้เราได้แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ได้รู้ด้วยว่าภายในกำจัดแมลงวันตัวเดียวกันที่นำโรคมาให้มนุษย์นั้นกลับมียาที่จะรักษาโรคนั้นๆรวมอยู่ด้วย      เนื่องจากมุสลิมเป็นผู้ที่ยอมรับต่อบัญชาของอัลลอฮ์และคำสอนของท่านศาสดามูฮัมมัดอยู่แล้วและพร้อมที่จะปฏิบัติตามได้ทันทีโดยไม่สงสัยในสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าและศาสดาของพระอง์บอกเลยว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และมันมีเชื้อโรคจริงๆ หรือไม่ ถ้าจริงคืออะไร ชนิดใด และมียารักษาโรคนั้นจริงหรือไม่ ถ้าจริงคือชนิดใดและอยู่ที่ไหน? นั่นแหละคือความศรัทธามั่นของบรรดามุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขา      แต่อย่างไรก็ตามน่าจะเป็นการดีว่า ถ้าเราจะสามารถรู้ได้ว่าแท้ที่จริงแล้วมันคืออะไรแน่เพราะนี่คือโอกาสทองของบรรดามุสลิมที่ได้รู้คำตอบที่ถูกต้องไว้เรียบร้อยแล้วเหลือเพียงหาสาเหตุที่เป็นจริง ๆ ให้พบเท่านั้น เขาก็สามารถจะรู้ได้โดยง่ายดาย การค้นคว้าในสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพราะเราไม่เชื่อถือในสิ่งที่พระองค์บอกแต่เป็นเพราะเราจะได้ทำตามสิ่งที่พระองค์สั่งเรา อีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือการพิจารณาสังเกตสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงสร้างและความมหัศจรรย์ของมันซึ่งจะยิ่งเพิ่มพูนความศรัทธาแก่เราให้มากยิ่งขึ้นและช่วยให้มุสลิมเราได้มีความรู้ความสามารถขึ้นกว่าเดิม แข็งแกร่งกว่าเดิมสามารถที่จะทำให้ศาสนาของพระองค์เป็นที่ยอมรับกันมากยิ่งขึ้นไป การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการทำดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและศาสนาของเราอีกทางหนึ่ง นอกเหนือไปจากการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต หรือการทำฮัจย์ก็ตาม สมควรที่พวกเราควรตั้งใจทำกันให้มาก ๆ เพื่อศาสนาของเราเอง



แมลงวันเป็นสัตย์ที่อยู่คู่กับโลกมานานแล้ว และเป็นที่คุ้นเคยกับคนทั่ว ๆ ไป แต่อย่างไรก็ตามไม่ค่อยได้มีใครรู้รายละเอียดเกี่ยวกับมันเท่าไรนัก      แมลงวันบ้าน มีชื่อทางภาษาอังกฤษว่า HOUSE FLY และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Musca domestica จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่ง ขนาดเล็ก ประกอบด้วย สามส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งคือส่วนหัว (Head) ซึ่งจะมีปากไว้ดูดอาหารได้ ส่วนที่สองคือส่วนอก (Thorax) จะประกอบด้วยปล้องสามปล้องและมีขาคู่หนึ่งออกมาในแต่ละปล้อง จึงมีขางอกออกมาทั้งหมดหกขาและปีกสองปีกอยู่เหนือขาปล้องกลาง ส่วนที่สามคือส่วนท้องหรือลำตัว (Abdomen) ซึ่งจะมีกระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบย่อยอาหารอยู่ภายในด้านข้างของลำตัวจะมีท่าหายใจโผล่ออกมาเป็นแถว ๆ ท่อที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่บริเวณส่วนอกใต้ปีกสองข้าง ส่วนท่อเล็ก ๆ อื่น ๆ อยู่บริเวณท้อง ตัวโตเต็มวัยจะมีชีวิตประมาณ 17-29 วัน
      จากการศึกษาพบว่าส่วนมากแล้วกำจัดแมลงวันจะมีเชื้อโรคติดอยู่ตามขาทั้งหกข้างและปีกทั้งสองข้างของมัน เนื่องจากชอบอยู่ในที่สกปรกและขามันมีลักษณะเป็นขน ๆ เชื้อโรคจึงติดไปกับมันโดยง่าย      แต่ก็เป็นที่น่าแปลกประหลาดเป็นอย่างยิ่งเช่นกันว่า เชื้อโรคเหล่านี้ไม่ได้อยู่ตลอดไปมันจะอยู่ไม่นานแล้วหายไปหมด เช่น B enteritides ที่ทำให้เกิดลำไล้อักเสบหรือโรคท้องร่วงจะอยู่ได้ไม่เกินเจ็ดวัน B typhosus ต้นเหตุของโรคไข้ไทฟอยด์อยู่ได้ไม่เกิน 6 วัน V cholera ที่ทำให้เกิดโรคอหิวาต์อยู่ได้ไม่เกิน 2 วัน หลังจากนั้นมันก็จะหายไปหมดโดยไม่มีเชื้อโรคใด ๆ หลงเหลืออยู่ นอกจากเชื้อที่อยู่เป็นปกติในลำไส้เท่านั้น      นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าต่อมาจนพบว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในลำไส้ของแมลงวันมีไวรัสชนิดหนึ่งอาศัยอยู่และไวรัสชนิดนี้เองที่เป็นตัวจับแบคทีเรียทั้งหมดนี้ และปล่อยดีเอ็นเอของมันเข้าไปในเซลล์เชื้อโรคเหล่านี้จึงต้องผลิตแต่ตัวไวรัสชนิดนี้ออกมาจนตัวเชื้อโรคเองต้องแตกออกและตายไปในที่สุด
      ไวรัสชนิดนี้จึงมีชื่อว่าแบคเทริโอเฟจ (Bacteriophage) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า เฟจ (Phage) แปลว่าผู้ฆ่าแบคทีเรียนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้จักกันดีและได้ถูกใช้นำมาฆ่าเชื้อโรคที่ทำอันตรายมนุษย์เป็นเวลาช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นอเล็กซานเดอร์เฟลมมิง คิดค้นยาปฏิชีวนะคือยาเพนิซิลลินขึ้นมาได้เป็นครั้งแรก ก็เลยทำให้แบคเทริโอเฟจ ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและไม่ค่อยมีการค้นคว้าเกี่ยวกับมันอีก นอกจากในประเทศรัสเซียซึ่งยังมีการค้นคว้ากันอยู่      นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยร่วมในลำไส้ของแมลงวันแต่ไม่ทำอันตรายแมลงวันนั้นก็มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคด้วยเช่นเดียวกัน โดยเป็นพวกเชื้อราบางชนิดเขาเรียกพวกนี้ว่า ไมโครไบโอตา (Microbiota) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ นั่นเอง
      วิธีการฆ่าตัวเชื้อโรคของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็โดยการไหลออกมาตามท่าหายในที่อยู่ข้างลำตัวมั่นนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าหายในที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ตรงบริเวณหน้าอกใต้ปีกของแมลงวันเอง      เมื่อแมลงวันถูกกดให้จมน้ำมันจะสำลักและขย้อนเอาของที่อยู่ในลำไส้ของมันออกมาซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ แบคเทริโอเฟจและในขณะเดียวกันก็ยังมีไมโครไบโอตา ที่ถูกขับออกมาทางท่อหายใจออกมาฆ่าเชื้อโรคด้วย
      ดังนั้นการที่แมลงวันตกลงไปในน้ำ จึงทำให้น้ำนั้นมีเชื้อโรคแต่เมื่อกดกำจัดแมลงวันนั้นให้จม สารกำจัดโรคก็จะออกมาฆ่าเชื้อโรคเหล่านั้นได้ และสารนั้นก็อยู่บริเวณโคนปีกของแมลงวันนั่นเอง สมจริงดังคำบอกเล่าของท่านศาสดาที่กล่าวไว้เมื่อพันสี่ร้อยปีก่อน ทั้ง ๆ ที่ในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักตัวเชื้อโรคและแน่นอนไม่มีใครรู้จักสารฆ่าเชื้อโรคด้วยซ้ำไป แม้แต่วิทยาการสมัยใหม่ก็เพิ่งรู้จักมันเมื่อประมาณร้อยกว่าปีมานี่เอง
      สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันอย่างดีของการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้ทรงรู้ในสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้และคำสอนของศาสดาของพระองค์นั้นก็สมจริงและมีประโยชน์ยิ่งต่อบรรดาผู้ศรัทธาและทำตามพระองค์ เราทั้งหมดจึงควรทำตามที่พระองค์สั่งสอนให้ทุก ๆ อย่าง ทั้งนี้เพื่อความสุขอันสถาพรทั้งในโลกนี้และในโลกหน้าตลอดไป วัสลามฯ
โดย  นายแพทย์กษิดิษ ศรีสง่าที่มา : วารสารสุขสาระ ฉบับที่ 35 เดือนพฤศจิกายน 2549


วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ปลวกบุกเข้าบ้านเราได้อย่างไร


    ความรู้เรื่องปลวก ปลวกตัวเล็กแต่ความเสียหายไม่ใช่เล็กๆ บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการเข้าทำลายของปลวก ปลวกจะแบ่งเป็นหลากหลายสายพันธ์ครับ มีทั้งสร้างรังให้เห็นเหนือดิน และที่อยู่ใต้ดิน 90% ของปลวกที่เข้าทำลายบ้านก็คือ ปลวกที่อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อเราสร้างบ้านไว้บนดิน ปลวกก็จะเข้าสู่บ้านของเราจากพื้นดิน โดยอาศัยรอยแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวของบ้าน  โดยปลวกจะสร้างทางเดินดินเพื่อออกไปหาอาหาร ปลวกพวกนี้จะไม่ชอบแสง มันจะทำทางเดินดินผ่านจุดที่มืด เงียบสงบ และความชื้นก็เป็นจุดเสี่ยงเหมื่อนกัน เมื่อเข้ามาเจอแหล่งอาหารแล้วก็จะเริ่มทำลายโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะการเข้าทำลายของปลวกนั่นเกิดขึ้นจากด้านใน โดยเมื่อรู้ตัวอีกทีก็เสียหายมากแล้ว ก็ยากต่อการกำจัดปลวก 

หลายคนอาจสงสัย ว่าทำไมคอนโดฯสูง 20-30 ชั้น ยังมีปลวกที่อาศัยอยู่ใต้ดินขึ้นไปทำลายได้อีก ปลวกเป็นแมลงที่มีความฉลาด และปรับตัวได้ดี โดยธรรมชาติปลวกงานจะเป็นผู้ทำหน้าที่หาอาหาร และมีปลวกทหารคอยคุ้มกันอันตราย จากพวกมดเป็นต้น แต่เมื่อแหล่งอาหารย้ายไปอยู่ที่สูง เช่นชั้น 20-30 ปลวกก็จะปรับวิธีการหาอาหาร โดยการสร้างรังย่อยโดยหาพื้นที่ ที่มีความชื้น จุดอับ และเงียบสงบ ดังนั้นการใช้ระบบกำจัดปลวกฉีดพ่นหรือฉีดปลวกลงสู่พื้นดินเพื่อจะทำให้ดินเป็นพิษ ก็ไม่มีผลต่อรังย่อยเลย นอกเสียจากจะใช้ระบบเหยื่อ ที่อาศัยพฤติกรรม ในการลำเลียงอาหารเพื่อกระจายเหยื่อให้กับสมาชิกภายในรัง จึงทำให้เกิดการล่มสลายรังปลวกในที่สุด
ขอบคุณที่มา http://www.nicebugservice.com/




วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

แมลงก้นกระดก ห้ามตบเด็ดขาด


ถ้ามาเกาะบนตัวคุณ ห้ามตบมันเพื่อกำจัดแมลงเด็ดขาด เพราะในตัวมันมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสผิวเราจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสไหม้มักเเป็นรอยแปลกๆ
จากข้อความทางโซเชียล มีเดีย ที่ส่งต่อๆ กันมาเป็นทอดๆ เกี่ยวกับพิษภัยของ “ด้วงก้นกระดก” ที่เมื่อโดนกัดหรือต่อยแล้ว จะเกิดเป็นโรคผิวหนังอักเสบ จนอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตนั้น
ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยขอยืนยันว่าโรคผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก ชนิดนี้ไม่ได้เป็นโรคใหม่ ซึ่งมีการค้นพบในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว แต่ก่อนนี้มักพบบ่อยตามชานเมืองที่มีหนองน้ำ แต่ปัจจุบันพบบ่อยขึ้น ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯและในทุกฤดูกาล ส่วนต่างประเทศมีรายงานการระบาด เช่น ไต้หวัน อินเดีย อาฟริกา แต่ยังไม่เคยมีการรายงานว่าถึงแก่ชีวิต
“เตือนกันทั่วโลก ไปแล้วว่า แมลง (หรือหนอน?) ชนิดนี้ (ไม่ทราบว่าจะแปลชื่อเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรดี) แต่ถ้ามาเกาะบนตัวคุณ ห้ามตบมันเด็ดขาด เพราะในตัวมันมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสผิวเรา ตายลูกเดียวเลย บอกเด็ก ๆ เพื่อนๆด้วยว่าหากมีแมลงแบบนี้มาเกาะ ให้ใช้ปากเป่าไล่ก็ได้แล้ว ห้ามใช้มือตีเพื่อกำจัดแมลงมันเด็ดขาด หมอเน้นว่าถ้าแชร์เรื่องนี้ออกไปสักสิบคน อย่างน้อยช่วยชีวิตคนได้ถึงหนึ่งชีวิตเชียว” ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย
ข้อความนี้มีส่วนถูกต้อง คือ เมื่อโดนแมลงนี้ห้ามตบ เพราะในตัวมีสารพิษ แต่ที่ไม่ถูกต้องคือ ถึงแก่ชีวิต และแมลงตัวนี้บินไม่ได้ จึงไม่สามารถมาเกาะได้ ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนจะไม่รู้สึกตัวจะทราบก็มีผื่นแล้ว ไม่เคยมีรายงานว่าถึงตาย และรูปที่ส่งมาเป็นตุ่มน้ำ พอง ไม่น่าจะเกิดจากแมลงชนิดนี้
มารู้จักแมลงชนิดนี้กันดีกว่า
แมลงก้นกระดก หรือ ด้วงก้นกระดก หรือ แมลงเฟรชชี่ (มักจะเจอช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Paederus Fucipes เป็นแมลงขนาดเล็ก ประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้มขนาดเล็ก และส่วนท้องมีสีส้ม ชอบงอส่วนท้ายกระดกขึ้นลง ทำให้ได้ชื่อว่าแมลงก้นกระดก เป็นแมลงที่พบเฉพาะในเขตร้อนชื้น โดยมากอาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ใกล้หนองน้ำ ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน ทำให้พบว่ามันจะลอดมุ้งลวดเข้ามาได้
ผื่นที่เกิดจากแมลงชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการที่มันกัดหรือต่อย แต่เกิดจากการที่ไปโดนแล้วบี้ทำให้สารเคมีในตัวที่ชื่อว่า paederin จะทำให้ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสไหม้มักเเป็นรอยแปลกๆตามที่มือไปสัมผัส อาจเป็นเส้น เป็นทางทำให้คิดว่าเป็นงูสวัดหรือเริม บางครั้งพบลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ kissing lesion คือถ้าเป็นที่ข้อพับจะเกิดผื่นที่เหมือนกันในด้านตรงข้าม ส่วนใหญ่มักโดนเวลากลางคืน แต่จะไม่เกิดอาการ จน 6-12 ชั่วโมง จึงเกิดอาการ ทำให้มือที่สัมผัสเไปโดนบริเวณอื่นแล้วทำให้เกิดอาการหลายตำแหน่งได้
สำหรับการป้องกันเมื่อโดนแมลงหรือเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง หรือใช้แอมโมเนียทาบริเวณที่โดนแมลงจะลดอาการแสบร้อนได้ ถ้าผื่นเป็นน้อยๆจะหายไปเองได้แต่ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อนต้องให้ยาปฎิชีวนะทาหรือรับประทานด้วย ถ้ามีแมลงมาเกาะพยายามอย่าตบ บดขยี้บนลงผิวหนังให้ปัดออกหรือกำจัดโดยวิธีอื่น
แมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟแรงสูงทิ้งไว้เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามา จากการทดลองพบว่าแมลงจะชอบเข้ามาถ้าใช้แสงไฟนีออนหรือหลอดไฟที่มีแรงเทียนสูงกว่า 40 วัตต์ ดังนั้นประตู หน้าต่างควรบุด้วยมุ้งลวดที่มีความถี่มากๆเพื่อให้แมลงเข้ามาไม่ได้
ถ้าไม่แน่ใจว่าโดนแมลงหรือไม่แต่แสบๆร้อนๆให้ ทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ทำความสะอาดบ้านมองหาตามผนังและเพดานใกล้หลอดไฟ อย่าเปิดไฟนอน และควรปิดประตูหรือหน้าต่างให้ดีก่อนที่จะเข้านอน
จะเห็นว่าแมลงชนิดนี้ไม่ได้อันตราย กัดต่อยแล้วถึงกับชีวิต แต่ สามารทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ ดังนั้น ควรป้องกันไว้ก่อนจะดีที่สุด.
ขอบคุณที่มา http://www.bangkokbiznews.com/