วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของปลวก : เห็ดโคนกับปลวก


การเกิดเห็ดโคนนี้มี ความสัมพันธ์กับปลวกแบบพึ่งพาอาศัยกัน (obligate symbiosis) กล่าวคือ ปลวกอาศัยเห็ดในการย่อย cellulose และ lignin จากเศษไม้ในรังปลวกให้เป็นโมเลกุลของน้ำตาล ส่วนเห็ดมีชีวิตอยู่ได้ ในรังปลวกโดยใช้สารเคมีที่ปลวกขับถ่ายออกมา ปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราจัดอยู่ ใน Family Termitidae จำแนกพบในประเทศไทยมี 15 ชนิด จัดอยู่ใน 5 สกุล ดังนี้ สกุล Odontotermes พบ 8 ชนิด สกุล Macrotermes พบ 4 ชนิด สกุล Hypotermes พบ 1 ชนิด สกุล Ancistrotermes พบ 1 ชนิด และสกุล Microtermes พบ 1 ชนิด
เห็ดโคนเป็นเห็ดกินได้ที่มีรสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภค กำจัดปลวก จึงทำให้เห็ดโคน มีราคาแพง เห็ดโคนสดราคากิโลกรัมละ 80-500 บาท ขึ้นอยู่กับลักษณะของ ดอกเห็ด ชนิดดอกตูมหรือดอกบาน และสถานที่วางจำหน่าย ดังนั้นเห็ดโคน จึงเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่ได้รับความสนใจมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดโคนกับปลวก 
เห็ดโคนเป็นเห็ดที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับปลวก (obligate symbiosis) โดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เห็ดโคนจะเจริญเติบโตออกจากรังปลวกหรือจอมปลวก ถ้าพบเห็ดโคนเจริญเติบโตในบริเวณใด ก็ตามเมื่อขุดลึกลงในดินจะพบรากเห็ดโคนเจริญมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb) หรือสวนเห็ด (fungus garden) เมื่อเห็ดโคนเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีการสร้างสปอร์บริเวณครีบดอก และในขณะที่ดอกเห็ดบานออกจะปล่อย สปอร์ที่แก่หลุดออกจากดอก กำจัดปลวก ซึ่งจะถูกลมพัดพาไปตกในบริเวณที่เหมาะสมหรือบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมากๆ จะมีกลิ่นดึงดูดปลวกได้เป็นอย่างดี ปลวกจะกินอินทรียวัตถุเป็นอาหารพร้อมกับคาบบางส่วนเข้าไปในรังปลวกเพื่อเก็บเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน การสร้างรังปลวกจะเริ่มที่ผิวดินก่อน สปอร์ของเห็ดโคนจะเข้าไปในรังปลวกพร้อมกับเจริญเติบโตเป็นเส้นใยอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน จากนั้นเส้นใยของเห็ดโคนก็จะพัฒนาไปเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่บริเวณสวนเห็ดซึ่งอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ และความชื้นเหมาะสมตุ่มดอกจะค่อยๆ พัฒนา และเจริญไปเป็นดอกเห็ดโคนต่อไป
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโคน 
บริเวณรังปลวกที่มีเห็ดโคนขึ้นอยู่จะมีความชื้นสูงมาก อุณหภูมิภายในโพรงของรังปลวกประมาณ 28-30 C° และอุณหภูมิภายนอกรังปลวก ประมาณ 26-27 C° สภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 5.0-5.6 และความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศประมาณ 70-80%
ขอบคุณที่มา nicebugservice.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น