วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ยุงปล่อยเลือดออกมาจากก้นเพื่อระบายความร้อน


ถ้าคิดว่าเกิดเป็นยุงคอยสูบเลือดสัตว์อื่นกิน แล้วจะสบาย ไม่ต้องย่อยอาหารเอง ก็คิดผิดเสียแล้ว การกินเลือดของยุงแต่ละครั้งมีปัญหาตามมามากมาย
หนึ่งในปัญหาสำคัญคือเรื่องของอุณหภูมิ ยุงเป็นสัตว์เลือดเย็นที่อุณหภูมิในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิแวดล้อม ดังนั้นเลือดร้อนๆ ที่ยุงซดเข้าไปทุกอึกจะส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายของยุงเพิ่มขึ้น กำจัดแมลง ถ้าหากร้อนมากเกินไป ยุงก็อาจตายได้
ทีมวิจัยที่นำโดย Claudio Lazzari แห่ง University of Tours ของประเทศฝรั่งเศส พบว่าเลือดที่ยุงปล่อยออกมาทางก้นขณะที่ดูดเลือดมีส่วนช่วยไม่ให้ร่างกายยุงร้อนเกินไป
จากการทดลองโดยให้ยุงสองชนิด คือ ยุงลาย Aedes aegypti และยุงก้นปล่อง Anopheles stephensi กินเลือดแล้วจับภาพอุณหภูมิด้วยกล้องอินฟราเรด ผลปรากฏว่ายุงก้นปล่องที่มีนิสัยชอบปล่อยเลือดออกมาทางก้นขณะกินอาหารมีอุณหภูมิร่างกายคงที่มากกว่ายุงลายซึ่งไม่ปล่อยเลือดออกมา
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าการระเหยของเลือดซึ่งเป็นของเหลวช่วยลดอุณหภูมิร่างกายของยุงได้ ท่าทางการกินเลือดของยุงก้นปล่องก็จะชูก้นตั้งฉากกับผิวหนังของเหยื่อที่ยุงกัดอยู่แล้ว กำจัดแมลง ทำให้เลือดที่ปล่อยออกมาจากก้นจะอาบล้อมส่วนท้องของยุงเอาไว้ เป็นตัวระบายความร้อนตามธรรมชาติ
งานวิจัยก่อนหน้านี้โดยทีมของ David Denlinger แห่ง Ohio State University ก็มีการค้นพบว่ายุงมีกลไกทางชีวเคมีเพื่อรับมือกับความร้อนของเลือดด้วยโปรตีนที่เรียกว่า heat shock protein
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสรีรวิทยาของยุงจะมีส่วนช่วยในการควบคุมยุงและเชื้อโรคที่มันเป็นพาหะในอนาคต แต่ว่าจะมีส่วนช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไม่มีใครรู้
ขอบคุณที่มา COSMOS Magazine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น